ไม่ว่ากาลเวลาจะผ่านไปกี่ปี วัฒนธรรมการเล่นเกมในปัจจุบัน ก็ยังไม่มีความแตกต่างจากยุค 90’s ซะเท่าไหร่ เพราะพวกเรายังคงหลงใหลในวิดีโอเกม พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องเกม และยังเล่นเกมเป็นชีวิตจิตใจมาโดยตลอด
แต่สิ่งที่วงการเกมมีเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนอย่างที่สุด ก็คงไม่มีทางหนีพ้นเรื่องเทคโนโลยีกับฮาร์ดแวร์วิดีโอเกมที่มีพัฒนาการอย่างไม่หยุดนิ่งตั้งแต่ยุค 70’s จนถึงเวลาปัจจุบัน จึงส่งผลทำให้วิธีการเล่นเกมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและมีการทดแทนอุปกรณ์การเล่นเกมมากมายให้ล้ำสมัยกับสะดวกสบายมากขึ้น จนบางครั้งทำให้พวกเรา ชาวเกมเมอร์ยุค 90’s จะต้องคิดถึงมันเป็นบางครั้ง เมื่อผู้เล่นได้ผ่านเข้าช่วงวัยหนึ่งของเสี้ยวชีวิต
นี่คือบทความ “รวมสิ่งที่ผู้เล่นจะต้องคิดถึง หากเกิดในยุค 90’s” แล้วเกมเมอร์ยุค 90’s จะมีลักษณะการเล่นเกมแตกต่างจากยุคปัจจุบันอย่างไร ก็สามารถรับชมได้เลยครับ
แผ่นเกม Demo Disc
ในปัจจุบัน ถ้าเกมเมอร์ต้องการทดลองเดโมจากเกมใดเกมหนึ่ง ก็เพียงแค่เข้าไปที่หน้าร้านค้าของเกมนั้น แล้วก็โหลดมาเล่นเดโมก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่สำหรับยุค 90’s ผู้เล่นจะสามารถทดลองเล่นเกมฉบับเดโมได้ในรูปแบบแผ่นเกมเท่านั้น พวกเราจึงเรียกมันว่า “Demo Disc” ซึ่ง Demo Disc จะหาพบได้จากการแถมฟรีในนิตยสารเกมรายเดือน/รายสัปดาห์ หรือเป็นของแถมร้านค้าอื่น ๆ ที่เข้าร่วมแคมเปญจับมือโปรโมตวิดีโอเกม
คู่มือที่มาพร้อมกับแผ่นเกม
แม้คู่มือวิธีการเล่นที่มาพร้อมกับแผ่นเกมจะยังมีให้เห็นอยู่บ้างสำหรับเกมบางเกม แต่หากย้อนกลับไปยุค 90’s จนถึง 80’s ก็ต้องบอกเลยว่าเกมแทบทุกเกมจะต้องมีหนังสือคู่มือวิธีการเล่นเกมแถมเข้ามาอยู่เสมอ ซึ่งคู่มืออาจจะมาเป็นแบบรูปเล่มขนาดเล็ก หรือเป็นแผ่นปกเกมจากด้านหลัง โดยข้อมูลภายในคู่มือส่วนใหญ่จะเป็นการแนะนำตัวละคร เนื้อหาขนาดย่อ และวิธีการเล่นเกมเบื้องต้น
แผ่นเกมหลายแผ่น
หลังจากอินเทอร์เน็ตได้มีพัฒนาการอย่างก้าวกระโดดจนกลายเทคโนโลยีสำหรับชีวิตประจำวัน เหล่าผู้เล่นหลายคนจึงเริ่มหันมาสนใจซื้อเกมในรูปแบบดิจิทัลดาวน์โหลดมากยิ่งขึ้น เพราะมีความสะดวกสบายมากกว่า และสามารถช่วยลดการใช้พลาสติกจากการผลิตแผ่น Blu-ray Disc อีกด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับยุค 90’s ตัวเกมสามารถเก็บข้อมูลได้เฉพาะแผ่น CD-Rom เท่านั้น แต่ความจุของ CD-Rom มีเนื้อที่ว่างเพียง 737 MB ซึ่งนับว่ามีปริมาณความจุที่น้อยมากสำหรับวิดีโอเกม จึงไม่แปลกใจเท่าไหร่นักที่เกมไตเติลใหญ่ ๆ ของ PlayStation 1 หลายเกม อย่างเช่น Final Fantasy VIII จะมาพร้อมกับแผ่น CD 4 แผ่น, Metal Gear Solid 2 แผ่น, Resident Evil 2 จำนวน 2 แผ่น หรือเกมอื่น ๆ อีกมากมายที่ต้องใช้ CD 2 แผ่นขึ้นไปในการสร้างเกมเต็ม
เป่าตลับเกม
ถ้าหากผู้เล่นประสบปัญหาตลับเกมไม่ยอมอ่านหรือเกิดบั๊กภาพกราฟิกขึ้น วิธีแก้ปัญหาของเกมเมอร์ยุค 90’s อย่างแรกที่ต้องทำ ก็คือการเป่าตลับเกมเพื่อไล่ฝุ่นออกจากแผ่นแล้วนำตลับเกมมาอ่านในเครื่องอีกครั้ง ถึงแม้ว่าการเป่าตลับเกมจะเป็นความเชื่อแบบผิด ๆ และเป็นการทำร้ายให้ตลับเกมมีอายุขัยสั้นลง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้จริง ๆ ว่าวิธีดังกล่าวสามารถทำให้ตัวเกมกลับมาเล่นได้ตามปกติอีกครั้งหนึ่ง
เนื่องจากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในยุค ’90s มีความเร็วระดับเต่าคลาน และไม่สามารถใช้งานอย่างสะดวกสบายเหมือนปัจจุบัน นอกเหนือจากนี้ เครื่องเกมคอนโซลส่วนใหญ่ก็ยังไม่มีการรองรับระบบ Multiplayer อีกด้วย เพราะฉะนั้นสิ่งที่ทำให้เกมเมอร์จะสามารถเล่นเกมพร้อมกันสองคนได้ ก็คือต้องเลือกโหมด 2 Player หรือตอนนี้เรียกกันว่า
การซื้อเกมแบบไม่มีข้อมูล / เกมไม่มี Patched
การซื้อเกมใดเกมหนึ่งในช่วงปี 90’s ก็เปรียบเสมือนกับการเสี่ยงดวงรูปแบบหนึ่ง เพราะยุคเวลานั้น เว็บไซต์รีวิวเกมยังไม่ได้รับความนิยมซะเท่าไหร่นัก และจะให้รอนิตยสารรีวิวเกมประมาณหนึ่งเดือนมันก็คงไม่ไหว ทำให้เกมเมอร์หลายคนส่วนใหญ่จะซื้อเกมในลักษณะแบบดูการโฆษณาเป็นหลัก เพราะฉะนั้นถ้าหากผู้เล่นได้ซื้อเกมคุณภาพแย่ ๆ มาเกมหนึ่ง ก็เท่ากับว่าผู้เล่นต้องสูญเสียเงินไปกับเกมห่วยอย่างน่าเสียดาย เนื่องจากเกมยุคนั้นจะไม่มีการ Patched หรือแก้ไขเกมอย่างเร่งด่วน ซึ่งแตกต่างจากเกมยุคปัจจุบัน ที่ผู้พัฒนาเกมยังสามารถปรับปรุงเกม แล้วค่อยปล่อยเป็น Patch ออกมาทีหลัง
ไม่มีระบบ Microtransactions
Microtransactions กับ Loot Box เป็นระบบที่เกมเมอร์หลายคนเห็นแล้วจะต้องส่ายหน้าหนีหรือออกมาต่อต้าน เพราะเป็นระบบที่ทำให้ตัวเกมขาดความสมดุล และเป็นการแสดงให้เห็นว่าทีมพัฒนาเกม มีพฤติกรรมที่พยายามกอบโกยผลกำไรจากผู้เล่นให้ได้มากที่สุด
จึงไม่แปลกใจเท่าไหร่นัก ที่ปัจจุบันจะมีเกมเมอร์หลายคนกล่าวคิดถึงเรื่องราวของอดีตวิดีโอเกมช่วงยุค 90’s ที่เกมเมอร์สามารถจ่ายเงินจากการซื้อเกมเกมเดียวจบ ไม่มีระบบจ่ายเงิน, ไม่มี Expansion Pack, ไม่มี DLC และไม่มีระบบ “Surprise Mechanics”
ระบบเกมแบบ 108 ที่ทำให้ชวนทำให้คุณหงุดหงิด
ไม่ว่าจะเป็นระบบ Checkpoint ที่ออกแบบมาไม่ดีพอ, การสร้างด่านกับแพลตฟอร์มที่ไม่สมเหตุสมผล, ระบบการควบคุมตัวละครแข็งและไม่ลื่นไหล (เพราะเกมส่วนใหญ่ยังใช้ปุ่ม D-Pad ควบคุมเป็นหลัก) , หน้าตา UI รก หรือการหมุนมุมกล้องที่ชวนน่าปวดหัว ปัญหาเหล่านี้จะพบเห็นเป็นประจำในเกมยุค 90’s เนื่องจากเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ของเกมยังไม่ก้าวไกลเหมือนเกมปัจจุบัน