เมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาลกับผู้คนเกือบทั่วโลกตระหนักถึงปัญหาเกมแห่งความตายอย่าง The Momo Challenge ได้ฟื้นคืนชีพและแพร่ระบาดกลับมาอีกครั้ง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ลูกหลาน หรือชาว GamingDose วัยเยาว์ที่มีแนวทางอนาคตอีกยาวไกลตกเป็นเหยื่อของเกมนี้ นี่คือบทความที่ผู้อ่านหลายคน รู้จัก The Momo Challenge มากขึ้น พร้อมกับบอกวิธีป้องกันเบื้องต้น
The Momo Challenge คือ ?
ชื่อว่า Momo ไม่ใช่คำน่ารักอย่างที่คุณคิด เพราะ The Momo Challenge มีชื่อเรียกหนึ่งว่า “Suicide Game” หรือเกมฆ่าตัวตายที่เคยระบาดโลกโซเชียลต่าง ๆ โดยเฉพาะ WhatsApp ในปี 2016 โดยภาพ Avatar จะเป็นผู้หญิงตาโตเกือบหลุดออกจากเบ้า, ทรงผมยาว, จมูกใหญ่, ปากยิ้มจนฉีก ที่เพียงแค่มองก็รู้สึกไม่สบายใจกับหลอนแล้ว
โดย Momo จะติดต่อผ่านโซเชียลในรูปแบบกล่องข้อความ ด้วยการสั่งให้ทำชาเลนจ์ต่าง ๆ สำเร็จเป็นขั้นตอน ตั้งแต่การทำร้ายร่างกายตัวเอง เช่น การกรีดแขน, กรีดคอ หรือรูปแบบอื่น ๆ จนถึงขั้นตอนสุดท้ายคือการฆ่าตัวตาย (อารมณ์แบบภาพยนตร์เรื่อง 13 เกมสยอง) ซึ่ง Momo ขู่ว่าถ้าหากไม่ทำตามชาเลนจ์ สักวันหนึ่งเธอจะไปหลอกหลอนอยู่ข้างเตียงแล้วจะกัดกินแขนขาให้หายไป พร้อมกับส่งภาพที่มีลักษณะความรุนแรงสูงและไม่สบายใจให้เหยื่อเห็น
ในอดีต The Momo Challenge เริ่มแพร่ระบาดในช่วงปี 2016 ซึ่งเชื่อว่าต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศเม็กซิโก โดยส่งต่อผ่าน WhatsApp หากอ้างอิงจากหน่วยงาน Computer Crime Investigation Unit of the State of Tabasco แต่แล้ว The Momo Challenge เริ่มลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่าง อาร์เจนติน่า, บราซิล, โคลอมเบีย จนรุกล้ำข้ามทวีปไปยังประเทศยุโรปบางส่วน, อินเดีย, ฟิลิปปินส์ และล่าสุด ประเทศสหรัฐอเมริกา
เรื่องราวเกมสั่งตาย The Momo Challenge เริ่มเผยแพร่สู่สื่อสาธารณชนผ่านช่อง Youtube ในช่วงเดือนกรกฎาคม ปี 2018 โดย Youtuber นาม ReignBot ซึ่งได้รับการติดต่อจาก Momo ผ่าน WhatsApp แล้วได้เห็นความอันตรายของชาเลนจ์ชนิดนี้
แต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2019 – The Momo Challenge กลับมาระบาดอีกครั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยมาในรูปแบบ Facebook
ทำให้รัฐบาล, บริษัทสื่อต่าง ๆ (รวมถึง Youtube) พร้อมกับประชาชนทั่วโลกเริ่มเฝ้าระวังกับ Momo Challenge ทุกฝีก้าว พร้อมกับรณรงค์เหล่าเด็ก ๆ และผู้ปกครองทุกคนดูแลบุตรหลานจากการใช้โลกโซเชียลอย่างใกล้ชิด
ปัจจุบัน มีเด็กเสียชีวิตจากการเป็นเหยื่อของ The Momo Challenge แล้ว 5 ราย (อาจมีตัวเลขคลาดเคลื่อน เพราะบางคดีไม่ได้ยืนยันว่าชีวิตจาการทำ Momo Challenge หรือไม่)
ตัวตนที่แท้จริงของ Momo
เพื่อเป็นการลบล้างคำสาป ไม่ให้เกมเมอร์วัยเด็กยกเป็นเหยื่อ The Momo Challenge อีกต่อไป เรื่องราว ความจริง ถือเป็นยาชั้นเลิศที่จะลบล้าง Momo ออกไปจากชีวิตของคุณ
ความจริงแล้ว ภาพ Avatar ของ Momo นำมาจากรูปปั้นงานศิลปะที่มีชื่อว่า Mother Bird ซึ่งประดิษฐ์โดยศิลปินนาม Keisuke Aisawa ผู้ทำสเปเชียลเอฟเฟกต์ภาพยนตร์สังกัด Link Factory ซึ่งภาพดังกล่าวเผยแพร่ผ่านโลกอินเทอร์เน็ตมาตั้งแต่ปี 2016 หรือตรงกับปีที่กำเนิด The Momo Challenge พอดี
แต่หลังจากเรื่องราว The Momo Challenge เริ่มเป็นที่จับตามองจากเหล่ารัฐบาลและสังคมในประเทศต่าง ๆ จนกลายเป็นภัยร้ายที่ทุกคนต้องเฝ้าระวังในเร็ว ๆ นี้ ที่ผ่านมา ทำให้ล่าสุด คุณ Keisuke Aisawa โดนข่มขู่ฆ่าจากชาวอินเทอร์เน็ตหรือสาปแช่ง เพราะเชื่อว่าเป็นต้นกำเนิด Momo Challenge ทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องเลย
ไม่นานมานี้ ประมาณช่วงวันที่ 4-5 มีนาคมที่ผ่านมา คุณ Aisawa ยืนยันว่ารูปปั้น Mother Bird หรือ Momo ที่หลายคนรู้จัก ถูกทำลายทิ้งตั้งแต่ปี 2018 เพราะเสื่อมสภาพตามกาลเวลา แต่ปัจจุบัน เหล่าทางการยังไม่ทราบว่าใครอยู่เบื้องหลังองค์กร The Momo Challenge ซึ่งคาดว่าต้องใช้เวลาสืบสวนกันต่อไป
Momo มุ่งเน้นโจมตีเด็กผ่านโลกโซเชียล
Momo Challenge จัดว่าเป็นปรากฏการณ์การโจมตี Cyberbully ประเภทหนึ่งโดยไม่เจาะจงกลุ่มเป้าหมายใดเป็นพิเศษ แต่กลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือวัยรุ่นช่วงอายุ 13-16 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีพฤติกรรมแปรปรวน, มีความรู้สึกอ่อนไหวที่สุด และกำลังประสบปัญหาด้านสังคมต่าง ๆ โดยเฉพาะปัญหาการกลั่นแกล้งภายในโรงเรียน หรือการโดนดูถูกเหยียดหยามมากที่สุด และรวมไปถึงส่งผลกระทบต่อเด็กต่ำกว่า 10 ปี อีกด้วย แต่ได้รับผลกระทบด้านความกลัวแทน
ซึ่งอาจจะทำให้เด็กเหล่ากลุ่มนั้น เกิด อาการตื่นตระหนกทางใจ (moral panic) และตกเป็นเหยื่อโดนหลอกลวงที่ก่อให้เกิดความรู้สึก จนเกิดผลลัพธ์ทำให้เด็กกล้าที่จะเสี่ยงทำตาม Momo Challenge เพราะไม่อยากโดนทำร้าย หรือกลัวความตาย จนลืมตระหนักถึงอันตรายที่แท้จริงของชาเลนจ์นี้
วิธีป้องกัน
เนื่องจาก The Momo Challenge ยังคงแพร่ระบาดตามโลกโซเชียลอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ The Momo Challenge จะยังไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย
หรือมีข่าวล่าสุดว่ามีการเผยแพร่ The Momo Challenge ผ่านช่อง Youtube ซึ่งทางทีมงาน YouTube ออกมายืนยันแล้วว่าไม่พบเห็นเนื้อหาดังกล่าวนอกเหนือเพื่อการศึกษาเท่านั้น แต่การป้องกันไว้ก่อนย่อมดีกว่ากลังเกิดเหตุการณ์ ซึ่งตอนนั้นอาจจะสายไปเสียแล้วก็ได้
- คุณ Nicola Harteveld และนักจิตวิทยา คุณ Anna Colton แนะนำให้เด็กหลีกเลี่ยงการค้นหา Momo รวมไปถึงหลีกเลี่ยงการเล่นโซเชียลก่อนวัยอันควร
- ไม่ควรติดต่อหรือสื่อสารกับคนแปลกหน้า ไม่ว่าจะเป็นทางโทรศัพท์หรือโซเชียลก็ตาม
- เฝ้าดูหรือสอดส่องพฤติกรรมของเด็กอย่างใกล้ชิด หากพบพฤติกรรมที่ผิดแปลกปกติ ควรเข้ารับปรึกษากับเด็กทันที
หากคุณเกิดมีความคิดที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตาย ทางเราแนะนำอย่าลืมปรึกษาคนรอบข้าง หรือติดต่อสายด่วนสุขภาพจิต 1323 เพื่อขอคำปรึกษา ซึ่งสามารถตลอดทุก 24 ชั่วโมงครับ