Dark Web / Deep Web ไม่เหมือนกัน
หลายคนมักเข้าใจผิดคิดว่า Dark Web กับ Deep Web มีความหมายเดียวเป็นเว็บมืดที่ขายของผิดกฎหมาย แต่ความจริงแล้วทั้งสองคำ มีบทบาทที่แตกต่างอย่างชัดเจน โดยประเภทของเว็บแบ่งออกเป็นสามประเภทคล้ายก้อนน้ำแข็งดังนี้
- Surface Web หรือ World Wide Web: เว็บไซต์ที่สามารถเข้าถึงตามปกติ โดยค้นหาตาม Search Engine เช่น Google, Yahoo, Bing
- Deep Web: เว็บไซต์ที่ไม่ปรากฏอยู่บน Search Engine ทั่วไป, มีการจำกัดความเข้าถึง, หรือไม่สามารถเข้าถึงในรูปแบบตามปกติ ส่วนใหญ่ Deep Web ใช้งานกับแหล่งรวม Database สำคัญ หรือข้อมูลหลังบ้าน เช่น ข้อมูลทางการแพทย์, งบประมาณรายได้ของบริษัท เป็นต้น
- Dark Web: คือ เว็บไซต์ที่จงใจปกปิดการเข้าถึงเกือบทุกรูปแบบ ผู้ใช้งานจำเป็นต้อง Web Browser เฉพาะทางเพื่อทำการเยี่ยมชม และไม่สามารถเข้าชมเว็บด้วยเพียงการใส่ URL อย่างเดียว ส่วนใหญ่จะเป็นเว็บผิดกฎหมายทุกรูปแบบ
เว็บมืดสามารถเข้าได้เฉพาะบาง Web Browser เท่านั้น
แน่นอนว่าการท่องเว็บมืดไม่สามารถเปิดใช้งานด้วย Web Browser ยอดนิยมอย่าง Google Chrome, Firefox, Internet Explorer หรือ Opera เพราะเนื่องจากได้รับความนิยมจากผู้ใช้ทั่วโลก และสืบหาเว็บได้ง่ายเกินไป
หนึ่งใน Web Browser สำหรับท่องเว็บมืดที่หลายคนรู้จักดีสุด คือ Tor (The Onion Router) ซึ่งมีคุณภาพเด่น สามารถปกปิดข้อมูล IP ของผู้ใช้ระหว่างการท่องเว็บ โดยขณะที่โปรแกรมอื่นยังมีเสี่ยงที่เหล่า Hacker สามารถแอบขโมยผู้ใช้งานจากการเชื่อมต่อ Dark Web
Tor เป็น Browser ที่ทางรัฐบาลสหรัฐฯ สนับสนุนมาโดยตลอด
ความจริงแล้ว Tor เป็น Web Browser ที่สร้างขึ้นมาโดยองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรนาม “Tor Project” ซึ่ง User สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมใช้งานแบบฟรี ๆ รวมถึงเปิดให้ทุกคนสามารถบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนองค์กรได้ตามอัธยาศัย ก็ต้องบอกว่าเป็นโปรเจกต์ที่ดูเหมือนไม่มีพิษมีภัยอะไรเลย
แต่ทว่าบนเว็บไซต์ทางการของ Tor เปิดเผยว่าโปรเจกต์ดังกล่าว มีการสนับสนุนเงินทุนจากหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ ด้วยจำนวนเงินมหาศาส และมีข่าวลือเกี่ยวกับบริษัท Google ก็เคยบริจาคเงินแก่องค์กร Tor Project เช่นกัน
ในปี 2012 มีรายงานว่าองค์กร Tor Project ได้ใช้งบประมาณสูงสุดรวม 1,200 ล้านเหรียญฯ โดยไม่มีทางทราบสาเหตุ “เพราะอะไร” และดูเหมือนทางรัฐบาลสหรัฐฯ ยังคงเพิกเฉยต่อตรวจสอบเว็บมืดอย่างจริงจัง อาจเป็นเพราะไม่คุ้มค่ากับเวลา หรือเงินที่เสียไป หรือความจริงแล้ว ทางรัฐบาลมีส่วนเกี่ยวในการสนับสนุนเว็บมืดกันแน่ ?
เว็บมืดนิยมใช้หน่วยเงิน Bitcoin
ทุกเว็บมืดจะใช้หน่วยเงินประเภท cryptocurrency เนื่องจากถือเป็นแดนแลกเปลี่ยนซื้อสินค้าแบบเสรีที่ไม่มีพรมแดน และเงินสกุล Bitcoin เป็นที่นิยมมากที่สุดสำหรับหลายคน เพราะตรวจสอบเส้นทางการเงินยาก ซึ่งแตกต่างจากบัตรเครดิตหรือเดบิต ที่รัฐบาลสามารถตรวจสอบได้ง่ายดาย
Silk Road เป็นเว็บมืดที่โด่งดังสุด
Silk Road หรือเส้นทางสายไหม เป็นเว็บไซต์ขายของออนไลน์เหมือน Lazada, Shoopee สำหรับประเทศไทย หรือ E-Bay, Amazon ของสหรัฐฯ แต่สิ่งที่แตกต่างจากร้าน E-Shop ทั่วไป คือคนทุกคนจะสวมชื่อเป็น Anonymous แล้วทำการค้าขายสินค้าทั้งแบบถูกกฎหมาย และผิดกฎหมาย โดยใช้สิ่งแลกเปลี่ยนด้วยหน่วยเงิน Bitcoin
เว็บมืดแหล่งรวมบริการผิดกฎหมายทุกรูปแบบ
แน่นอนว่าเว็บมืดจะต้องดาร์กสมกับชื่อ เพราะนอกจากจะเข้าถึงยากแล้ว ก็เป็นแหล่งรวมบริการหรือค้าขายแบบผิดกฎหมายในหน้าเดียว ตั้งแต่การค้ายาเสพติด, ค้าอาวุธปืนเถื่อน หรือมีการรับจ้างมือปืนนักฆ่า และแฮกเกอร์มืออาชีพอีกด้วย ซึ่งรวมถึงเว็บไซต์จำหน่ายภาพยนตร์ผู้ใหญ่แบบป่าเถื่อน
ผู้สร้างเว็บมืดอาจเป็นฝีมือรัฐบาลเอง?
แม้ยังเป็นเรื่องราวปริศนาที่ชาวโลกยังไม่สามารถหาคำตอบ เรารู้เพียงแต่ว่าเว็บมืดก็มีอายุพอ ๆ กับเว็บสว่าง คือเกิดขึ้นช่วงปี 1970 หลังจากหน่วยงานรัฐบาลของสหรัฐฯ ได้สร้างเครือข่ายตัวแรกภายใต้ชื่อโปรเจกต์ ARPANET (Advanced Research Project Agency NETwork) จนถือกำเนิดเป็นอินเทอร์เน็ตในยุคปัจจุบัน
ทำให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ เชื่อว่าเว็บมืดอาจสร้างขึ้นมาโดยหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อใช้จู่โจมทางไซเบอร์ หรือแลกเปลี่ยนต่อรองกันลับ ๆ แต่นั่นก็เป็นเพียงแค่ทฤษฎีเท่านั้น
ผู้ใช้งานมีสิทธิ์ติดตะราง หากเข้า Dark Web
การเข้าเว็บมืดไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม ถือเป็นการกระทำอย่างหนึ่งที่ผิดกฎหมาย และเข้าข่ายเป็นอาชญากรรม ผู้เข้าเว็บมืดจึงมีสิทธิ์เข้าคุกเช่นกัน ถ้าหากมีการตามจับตัวได้ ฉะนั้นอย่าเสี่ยงเด็ดขาด !