BY TheStarrySky
2 Dec 18 12:07 pm

5 เรื่องที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Support ในเกม MOBA

150 Views

“ทีมต้องการซัพพอร์ต”

ประโยคสั้น ๆ ที่ชาว RoV อาจจะเห็นได้ในบางครั้ง มันเป็นปุ่มที่มีไว้ในเกมตอนเลือกตัวเพื่อให้คนในทีมกด เพื่อเป็นการบอกประมาณว่า “เลือกซัพพอร์ตหน่อยจ้า” อะไรทำนองนี้ ซึ่งคิดว่าถ้าเกมอย่าง Dota หรือ LoL มีปุ่มให้กดเเบบเดียวกันนี้ก็คงจะดีไม่น้อยเช่นกัน

เเล้วทำไมใคร ๆ ก็ไม่อยากเล่น Support ? ทั้ง ๆ ที่มันก็อยู่ในสูตรมาตรฐานของทีม MOBA นั้นคือ 1 เเทงค์ 1 ไฟตเตอร์ 2 เเครี่ เเละ 1 ซัพพอร์ต

และนี้คือบทความต่อจากอันที่เเล้วในชื่อ “5 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Carry ในเกม MOBA” หลังจากได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี วันนี้เรามาต่อกันกับ “5 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Support ในเกม MOBA” มาดูกันว่าทำไมใคร ๆ ก็ไม่รัก Support เเม้จะเป็นตำเเหน่งที่ทุกคนต้องการก็ตามที

1. Support คือตัวที่ทำ Damage ไม่ได้

เรื่องเเรกที่คนมักเข้าใจผิด เเละไม่นิยมที่จะหยิบ Support มาเล่นนั่นก็คือ Support คือ Hero ที่โจมตีไม่ได้ หรือไม่มีความสามารถในการต่อสู้ เป็น Hero ที่มีสกิลที่ใช้โจมตีได้เเบบไม่เต็มร้อย ทำความเสียหายต่ำเเละมีไว้เพื่อ “อำนวยความสะดวก” ให้กับเพื่อนร่วมทีมเท่านั้น

จริง ๆ เเล้วเรื่องนี้มันถูกกับผิดอยู่อย่างละส่วน เเต่ทางผิดนั้นจะเยอะกว่า เพราะ Support นั้นก็เป็น Hero ตัวหนึ่งที่ต้องถูกสร้างมาอย่างสมดุล ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่ Support นั้นจะต่อสู้ไม่ได้ เพื่ออธิบายเรื่องนี้เราต้องย้อนไปไกลถึงสมัย DotA AllStars เพื่ออธิบายถึงต้นกำเนิดของ Support

Support นั้นต่อสู้ไม่ได้….ให้พูดอีกที

ใน DotA AllStars นั้น Support ส่วนใหญ่จะเป็นตัวละครสาย Int ซึ่งมีพลังกายต่ำ (Hp เเละเกราะ) เเต่มีความสามารถในด้านสกิลที่ดี Hero สาย Support ตัวเเรกที่เห็นได้อย่างชัดเจนใน DotA นั้นคือ Chen The Holy Knight โดยเขาเป็น Hero ที่สกิลเป็นการสนับสนุนทั้งหมด ทั้งฮีล ส่งเพื่อนกลับฐาน เเละดีบัพศัตรูให้โดนโจมตีเเรงขึ้น โดยที่ตัวเองมีสกิลสำหรับใช้โจมตีเเบบขำ ๆ เพียงเเค่ 1 สกิลเท่านั้น (สุ่มทำ Damage ได้น้อยก็ซวยไป) ถือเป็นต้นเเบบเเนวคิดเเรกของ Hero สาย Support ของ DotA เเละเกม MOBA อื่น ๆ เรื่อยมา

Chen The Holy Knight ซัพพอร์ต (แท้) ตัวเเรก ๆ ของเกมเเนว MOBA

ต่อมาในยุคของ LoL นิยามของคำว่า Support ก็ได้กว้างขึ้นมาก เเม้จะไม่มีการเเบ่งตำเเหน่งอย่างเป็นทางการ เเต่ LoL ก็ถือเป็นเกมเเรกที่ Hero หลายตัวมีตำเเหน่งที่ชัดเจนในตัวเอง ไม่เป็นเเบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ เเบบลูกผสมอย่างใน DotA อีกต่อไป Champion อย่าง Sona, Soraka ก็สามารถเรียกได้ว่าเป็น Support เเท้ๆ ที่มีความสามารถในการต่อสู้ต่ำได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม LoL นั้นก็ได้ให้กำเนิดนิยามใหม่ของตำเเหน่ง Support อีกด้วย นั้นคือ “ตำเเหน่งที่มีสกิลช่วยสนับสนุนในการต่อสู้จำนวนมาก” ซึ่งคำว่า “ช่วยในการต่อสู้” นั้น มันก็ไม่จำกัดเเค่ Heal, บัพ เปิดเเมป หรือส่งเพื่อนกลับฐานอย่างเดียว มันยังหมายถึงหน้าที่อย่างเช่น Stun Slow หรือการสาด CC ทั้งหลายใส่ศัตรูอีกด้วย

ดังนั้นใน LoL จึงมี Support อีกชนิดหนึ่งเกิดขึ้น เรียกว่า “Aggressive Support” เเปลตรงตัวคือ “ซัพพอร์ตที่มีความก้าวร้าว” หรือซัพพอร์ตจู่โจม เป็นตำเเหน่งซัพที่เล่นเน้นไปที่การสร้างดาเมจและป่วนศัตรูนั่นเอง ตัวอย่างของตัวละครใน LoL ที่มีลักษณะนี้อย่างชัดเจนคือ Lux เเละ Karma เป็นต้น

ต่อมาใน RoV เกมยอดฮิตของไทยตอนนี้ เราอาจเห็นว่า Support ส่วนใหญ่นั้นเป็นตัวที่ทำความเสียหายได้น้อยก็จริง เเต่คุณเคยสงสัยหรือไม่ ว่าทำไมตัวละครอย่าง Xeniel ที่ดูเหมือน Tank เเละ Mganga ที่ดูเหมือน Mage ถึงติดอยู่ในรายชื่อ Support ด้วย ?

นั้นก็เพราะนิยามของ Support ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวที่ทำได้เเค่ช่วยเพื่อนเท่านั้น Hero ทุกตัวที่มีสกิลที่เน้นไปที่การช่วยเหลือเพื่อนเเละทีม หากมีเกินครึ่งนึ่งของที่มี ก็สามารถนับได้ว่าเป็น Support ได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น CC ทั้งหลาย สร้างเกราะ ดีบัพฝ่ายตรงข้าม ก็ได้หมดทั้งสิ้น

เหล่า Support ใน LoL เหมือนกับ Carry, ซัพพอร์ตนั้นใช้ว่าจะโจมตีเบาทุกคน

เพราะฉะนั้นในครั้งหน้า หาก “ทีมต้องการซัพพอร์ต” ก็ลองหยิบ Mage หรือ Tank มาเล่นเเทนก็ได้ เเล้วบอกไปเลย “ฉันจะเล่น Support” ไม่ต้องห่วงว่าใครจะหาว่าคุณบ้า คนบ้_เท่านั้นล่ะที่ไม่รู้ว่าซัพพอร์ตที่เเท้จริงเป็นยังไง 😀

2. ใคร ๆ ก็เล่น Support ได้

ข้อนี้ดูจะร้ายเเรงกว่าข้อเเรกอยู่พอสมควร เพราะคนที่เล่น Support นอกจากจะต้องรู้จักสกิลของตนเป็นอย่างดีเเล้ว พวกเขาหรือเธอเหล่านั้นจะต้องมีอีกสิ่งที่เรียกว่า “หัวใจของ Support” ด้วย เเละเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ทุกคนจะมี

เหมือนกับ “สัญชาตญาณนักฆ่า” ของ Carry, “จิตใจของนักสู้” ของ Fighter เเละ “สัมผัสที่ 6” ของ Roaming ผู้เล่นซัพพอร์ตจะต้องมีทั้งความรู้เเละหัวใจที่เสียสละของ Support อีกด้วย (คำเเปลกๆ พวกนี้คืออะไร จะมีอธิบายในบทความต่อ ๆ ไป โปรดติดตามชม :D)

“คุณพร้อมที่จะไม่ลาส Creep เลย เพื่อให้ Carry ได้เงินเติมจำนวนหรือเปล่า” 

“เเม้เเต่ Hero คุณก็ต้องไม่ลาสเลย เพื่อให้เพื่อนได้รับเงินเต็มที่ ทำได้หรือไม่ ?”

“คุณพร้อมที่จะเดินตามก้นเพื่อไปตลอดทั้งเกม เเม้ว่าเขาจะพาไปตาย ไปได้หรือเปล่า”

หรือ “คุณพร้อมที่จะวาร์ปไปรับสกิลเเทนเพื่อน เเละตายเเทนเขาได้ไหม ?”

นี้เป็นเเค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น หากคุณทำทั้งหมดที่ว่ามาได้ คุณก็คือ Support ตัวจริง เรื่องนี้เป็นเรื่องที่หลายคนอาจไม่เข้าใจ เเต่การเป็น Support ตัวจริงนั้นก็เป็นเรื่องที่คนทั่วไปเข้าใจได้ยากจริง ๆ จากประสบการณ์ของผู้เขียน ผู้เล่น Support เเท้ ๆ นั้นหาได้ยากมาก โดยเฉพาะเกมใหม่ ๆ อย่าง RoV โชคยังดีว่าในเกม MOBA สมัยใหม่นั้น การเเบ่งตำเเหน่งจะเริ่มกลับไปคล้าย ๆ กับ DotA ในช่วงเเรกที่จะมีลูกผสมมากมาย Support อย่าง Xeniel เเละ Mganga ก็ถือเป็นตัวอย่างชั้นดีของ Support ที่ไม่จำเป็นต้องตรงไปตรงมา ที่ต้องเดินตามเพื่อนหรือไม่ลาสใครเลย ถือเป็นการสร้างความหลากหลายให้กับเกมได้ในทางหนึ่ง

ไม่หวั่น เเม้วันมามาก เป็น Support ต้องอดทน !!

สรุปง่าย ๆ คือ Support ไม่ใช่ตำเเหน่งที่เหมาะสำหรับทุกคน มันไม่ใช่ตำเเหน่งที่ถ้าขาดเเล้วใคร ๆ ก็หยิบมาเล่นได้เหมือนตำเเหน่งอื่น ๆ ดังนั้นจึงกลับไปที่ข้อ 1 นั้นคือถ้าหากทีมขาด Support ก็หยิบ Mage หรือ Tank มาเล่นเเทนก็ได้เหมือนกัน

3. Support นั้นเป็นพวกนักเวทย์ 

ต่อเนื่องจากข้อ 1 อีกเช่นกัน จากการที่ Support นั้นพัฒนามาจากสาย Int ใน DotA ผู้คนจึงมักเข้าใจผิดว่า Support ส่วนใหญ่จะเป็นนักเวทย์ตัวบาง หรือพวกที่ทำความเสียหายเวทย์เป็นส่วนใหญ่ ทำให้หลายคนมองข้าม Support ที่เป็นกายภาพเก่ง ๆ ไปหลายตัว

เเท้ที่จริงเเล้ว หากเราพิจารณาดี ๆ ตำเเหน่งอย่าง Tank ก็เป็น Support สายหนึ่งเช่นกัน เพราะ Tank ก็ไม่ใช่สายสำหรับการต่อสู้โดยตรง เเละสกิลส่วนใหญ่ก็ออกเเบบมาเพื่อช่วยเหลือทีมมากกว่าเหมือนกัน ซึ่งนี้ก็ทำให้หลายคนสับสนอยู่ไม่น้อยระหว่าง 2 ตำเเหน่งนี้

ตัวอย่างคือ Leona ใน LoL ซึ่งถูกจัดอยู่ในตำเเหน่ง Pure Tank หรือเเทงค์เเท้ ๆ ที่ทำความเสียหายได้ต่ำมาก (เเม้ว่าตอนหลังจะอัพเดทให้ดูเป็น Fighter มากขึ้นก็ตาม) Leona นั้นมี 3 CC จาก 4 สกิล เเละมี Passive ที่ออกเเบบมาเพื่อสนับสนุนเพื่อนโดยเฉพาะ ดังนั้นเธอก็ถือเป็น Support คนหนึ่งเช่นกัน เเละเธอเป็นนักรบในชุดเกราะหนัก ไม่ใช่นักเวทย์ตัวบางเเต่อย่างใด

Diana wins the Battle, but Leona wins the War. คำเปรียบเปรยที่ใช้เทียบระหว่าง Assassin เเละ Tank 

4. Support นั้นไม่จำเป็น จะมีหรือไม่ก็ได้

เรื่องนี้ถูกครึ่งไม่ถูกครึ่ง โดย Support นั้นจะมีหรือไม่ก็ได้จริง เเต่ในทีมจำเป็นต้องมีคนที่เล่นในลักษณะ Support ได้ด้วย

เพราะตำเเหน่งอย่าง Carry นั้นจำเป็นต้องมีอีกคนที่ตามประกบตลอดเวลา ซึ่งในความเป็นจริงเเล้วจะเป็นตำเเหน่งไหนก็ได้ เเต่ตามหลักสูตรเเล้วมักจะเป็น Tank เเละ Support เพราะจะได้ไม่ซ้ำกับคนอื่น ๆ ในทีม

ทั้งนี้ เราก็สามารถหยิบ Hero ในอีกรูปเเบบหนึ่งมาเเทน Support ได้ นั้นคือ “Aggressive Support” จากข้อ 1 (อีกรอบ) นั้นเอง โดยในต้นเกมนั้นก็เล่นเป็น Support ตามหน้าที่ เเต่เมื่อเกมดำเนินไปก็ค่อย ๆ ขยับไปเป็น Carry, Fighter หรือ Mage ตามสกิลของเเต่ละคน

โดยถ้าหากเพื่อนในทีมมี Hero ที่เป็น Hard Carry จำนวนมาก (เก่ง เเต่ใช้เวลาเกิดนาน) ก็ควรที่จะมี Support เเท้ ๆ ในทีมด้วย เพื่อให้ Carry เกิดได้ไวที่สุด นอกเหนือจากนั้นก็ตามรูปเกมเเละทีมของตัวเอง อย่างที่บอกไปข้างต้น คุณอาจหยิบ Mage ซักตัวมาเเทน Support ก็ได้

เบื้องหลัง Carry ที่ยิ่งใหญ่ ย่อมมี Support ที่ใหญ่ยิ่ง

5. แล้ว Support จริงๆต้องเป็นอย่างไร 

Support เป็นเหมือนตำเเหน่งที่เป็นตัวเเถมของทีม เเต่ก็ถือว่าคุณโชคดีมากหากมีใครซักคนเลือกเล่น Support อย่างเต็มใจ เพราะคุณจะได้เเสดงฝีมือได้อย่างเต็มที่ คุณอาจโจมตีเเรงขึ้น วิ่งเร็วขึ้น ตายยากขึ้น หรืออาจเป็นศัตรูที่จะตกเป็นเป้าของคุณได้ง่ายขึ้น ตายง่ายขึ้น หายากขึ้น เเละอื่น ๆ ที่จะเป็นไปได้

เเต่ถึงกระนั้น Support ก็ไม่ใช่ตำเเหน่งที่เหมาะกับทุกคน ผู้เล่นหลายคนที่เป็น Main Carry มักจะมีปัญหาเวลาต้องหยิบ Support มาเล่น เพราะมันเป็นเหมือนเหรียญสองด้านที่ต่างกันสุดขั้ว น้อยคนที่จะมีความสามารถที่จะเล่นได้ทั้งสองตำเเหน่งนี้อย่างชำนาญทั้งคู่ การฝึกฝนเป็นประจำจึงสำคัญอย่างมากสำหรับผู้เล่นในสายนี้

Tank นั้นก็เป็น Support ประเภทหนึ่งเช่นกัน ดังนั้นถ้าคุณไม่ชอบที่จะเดินตามเพื่อนอยู่ตลอดเวลา คุณก็อาจฝึกเล่นในตำเเหน่ง Tank หนึ่งในสายที่เป็นที่ต้องการของตลาดเเละขาดเเคลนผู้สมัครใจเล่นเสมอมาเช่นกัน

ซัพ เเละ ซัพเท่านั้น

จบเเล้วสำหรับ Guide เรื่องสาย Support ในวันนี้ เเม้ว่าการเล่น Support นั้นจะดูเป็นเรื่องท้าทายเเละน่าลองสำหรับใครหลาย ๆ คน เเต่ในเกมที่มีผู้เล่น 5 คนที่อาจไม่รู้จักกันเลยในทีม การเล่นในตำเเหน่งของตัวเองให้ดีที่สุดจึงเป็นเรื่องสำคัญไม่ว่าจะชนะหรือเเพ้ก็ตาม เพราะถึงเเม้จะเเพ้ เเต่ถ้าทุกคนเล่นได้อย่างเต็มที่เเล้วก็จะไม่มีสิ่งใดที่คาใจกันเเละกันตำเเหน่ง Support คือตำเเหน่งที่น่าเป็นห่วงที่สุด ชนิดที่เรียกว่า ถ้าเล่นไม่เป็นก็เหมือนสู้ 4 vs 5 กันเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นผู้เล่น Support ทั้งหลายต้องฝึกฝนตัวเองให้ดี เเละคนอื่น ๆ เองก็ต้องเข้าใจ Support ด้วยเช่นกัน ไม่งั้นอาจจะเป็นเเบบภาพด้านล่างได้… สำหรับวันนี้ สวัสดี 😀

(เพื่อนๆที่เล่น RoV รบกวนอธิบายภาพนี้ให้เพื่อนที่ไม่ได้เล่นเข้าใจด้วยนะ :D)

Pathiphan Tepinta

Back to top