วิดีโอเกมก็เป็นสื่อบันเทิงชนิดหนึ่งที่ได้รับการปกป้องลิขสิทธิ์อย่างเข้มงวด และมีเรื่องราวคดีการฟ้องร้องมากมายเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์หรือขโมยไอเดียหลายครั้ง
แต่เนื่องจากวิดีโอเกมมักถูกตกเป็นสื่อแพะรับบาปที่เหล่าผู้ใหญ่มักโยนความผิดว่าเป็นตัวบ่อเกิดของความรุนแรง จนทำให้คนบางคนเลือกฟ้องร้องวิดีโอเกม ที่มาพร้อมกับเหตุผลเพี้ยนหรือไม่สมเหตุสมผล แล้วกลายเป็นเรื่องราวตลกขำขันประจำวัน แล้วรายชื่อคดีมีอะไรที่น่าสนใจบ้าง ก็สามารถรับชมได้เลยครับ
Lindsay Lohan ฟ้อง Rockstar เพราะเอาเธอเป็นแบบในเกม GTA V โดยไม่ได้รับอนุญาต
บิกินี่สีแดง และถือโทรศัพท์มือถือกำลังถ่ายรูป Selfie มีลักษณะคล้ายเธอมาก
โดยกล่าวหาว่าทีมพัฒนาเกม แอบนำโมเดลต้นแบบที่เชื่อว่าเป็นของ “เธอ” ใส่เข้าในเกมโดยไม่ได้รับอนุญาต เธอชี้ว่าตัวละครมีลักษณะสวมชุดหลังจากคดีนี้ยืดเยื้อมานานถึงปี 2017 ทางศาลตัดสินให้บริษัท Take Two กับ Rockstar Games พ้นผิดทุกข้อกล่าวหา เพราะไม่มีหลักฐานที่ชี้ชัดว่าทีมงานจงใจใช้ Lindsay Lohan ตั้งแต่แรก
น่าเสียดายที่ทางศาลไม่รับเรื่องการฟ้องร้องจากนาย Douglas Ladore เพราะตัวเกมยังคงรันที่ “1080p” ตามที่ตัวเกมโฆษณาไว้ตั้งแต่แรก ซึ่งยังไม่เข้าข่ายว่าเป็นการ “โฆษณาเกมเกินจริง”
ช่วงปี 2013 เกมเมอร์หญิงสัญชาติเกาหลีใต้ อายุ 64 ปี ได้ยื่นเรื่องสั่งฟ้องร้องบริษัท NCSoft เพราะทีมงานไม่ยอมคืนดาบแรร์ “Jin Myung Hwang’s Conduct Sword” ของเกม Lineage ซึ่งเธออ้างว่า “ได้เผลอตีดาบแล้วพัง โดยไม่ได้ตั้งใจ” และไอเท็มดังกล่าว มีมูลค่าถึง 28,000 เหรียญฯ
แต่อย่างไรก็ตาม ทีมงาน NCSoft สามารถตรวจสอบพบว่าคำกล่าวหาของเธอ “ไม่เป็นความจริง” เพราะก่อนหน้านี้ เธอได้ทำกิจกรรมตีบวกไอเท็มประเภทสวมใส่หลายชิ้น และเนื่องจากกฎภายในเกม Lineage ระบุตั้งแต่แรกแล้วว่าทีมงานจะไม่รับผิดชอบทุก ๆ กรณี เมื่อไอเท็มเสียหายหรือสูญหาย
Universal ฟ้อง Nintendo เพราะ
วันที่ 29 มิถุนายน 1982 ทีมงาน Universal Studios ประกาศฟ้องร้องทีมงาน Nintendo เพราะตัวละคร Donkey Kong จากวิดีโอเกมในชื่อเดียว มีลักษณะรูปร่าง “คล้าย” กับ King Kong จากภาพยนตร์ในชื่อเดียวกันมากเกินไป
อย่างไรก็ตาม Universal Studios กลับลืมว่า King Kong เป็น “สมบัติสาธารณะ” ที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกกฎหมาย (ประโยคดังกล่าว พูดโดยทีมงาน Universal ก่อนเริ่มถ่ายทำหนัง King Kong ฉบับ Remake ในปี 1976) ทำให้บริษัท Nintendo เป็นฝ่ายชนะคดีในชั้นศาล และได้รับเงินค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 1.8 ล้านเหรียญฯ สหรัฐ
ช่วงปี 2007 วงดนตรีร็อคชื่อดัง The Romantics ยื่นฟ้องร้องทีมงาน Activision ในข้อหาทำเพลงคัฟเวอร์ “What I Like About You” มีความใกล้เคียงกับเพลงต้นฉบับ “มากเกินไป” ซึ่งทำให้เกมเมอร์หลายคนสับสนระหว่างเพลงคัฟเวอร์กับเพลงต้นฉบับ พร้อมเรียกร้องให้หยุดการจำหน่ายเกม Guitar Hero Encore: Rocks the 80s ทันที
ซึ่งแน่นอนว่าทางศาล ไม่รับเรื่องการฟ้องร้องจากวง The Romantics เพราะทีมงาน Activision ไม่ได้ละเมิดสัญญาที่กำหนดไว้ และเพลงดังกล่าวจัดเป็นหมวดเพลงคัฟเวอร์ที่ผ่านการซื้อลิขสิทธิ์อย่างถูกต้อง
ช่วงปี 2010 นาย Tim Langdell ผู้ก่อตั้งบริษัทเกมมือถือชื่อดัง
ได้ประกาศจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อว่า “Edge” เป็นทางการ ทำให้เกมหลายเกมที่มีชื่อว่า Edge ตามหน้าหรือหลัง จะต้องเปลี่ยนชื่อหรือลบออกจากร้านค้า มิฉะนั้นจะถูกฟ้องร้องโดยทีมงานทันที เหมือนกับเกม “Edge” ของระบบ iOS ที่จำเป็นต้องถอดออกจาก Apple Store เพราะถูกฟ้องละเมิดเครื่องการค้าคำว่า “Edge”จนกระทั่ง Tim Langdell ได้ยื่นสั่งฟ้องร้องบริษัท EA หลังการวางจำหน่ายเกม Mirror’ s Edge เนื่องจากชื่อเกมได้ละเมิดเครื่องหมายการค้า “Edge” แต่น่าเสียดายสำหรับนาย Langdell ซะหน่อย เพราะ EA ประกาศต่อสู้คดีกับ Edge Games ในชั้นศาล และ EA ก็เป็นผู้ชนะคดีในที่สุด ทำให้เครื่องหมายการค้า “Edge” ถูกยกเลิกโดยทันที
เดือนธันวาคม ปี 2015 ชายสัญชาติรัสเซียคนหนึ่ง อายุ 28 ปี ได้ยื่นเรื่องสั่งฟ้องทีมงาน Bethesda Softworks ในข้อหาที่ทำให้เขาเสพติดเกม Fallout 4 โดยไม่มีการบอกเตือนล่วงหน้า เขากล่าวว่าหลังจากติดเกม Fallout 4 อย่างหนัก ชีวิตเขาเริ่มพังทลายและเข้าสู่จุดตกต่ำสุดในชีวิต ไม่ว่าจะพบกับปัญหาเป็นโรคนอนไม่หลับ, โดนภรรยาหย่าร้าง และถูกไล่ออกจากงาน หลังจากเล่นเกม Fallout 4 ติดต่อกันสามสัปดาห์
ถึงแม้ทางศาลรัสเซียจะรับเรื่องการฟ้องร้องจากชายผู้ติดเกม Fallout 4 อย่างหนัก แต่การดำเนินคดีฟ้องร้อง กลับไม่มีความคืบหน้ามานานเกือบ 3 ปีแล้ว