BY KKMTC
25 Jan 19 5:09 pm

7 เกมที่ถูกเปลี่ยนชื่อด้วยเหตุผลสุดเพี้ยน

52 Views

เกมเมอร์หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมเกมเพียงเกมเดียวต้องมีชื่อเรียกที่ไม่เหมือนกันในแต่ล่ะภูมิภาคจนสร้างความสับสนวุ่นวายให้ผู้เล่นอีกหลายคน แน่นอนว่าสาเหตุหลักของการเปลี่ยนชื่อเกมมีเหตุผลร้อยแปดตั้งแต่เรื่องลิขสิทธิ์, ปัญหาการเมือง, ภาพลักษณ์ของเกมและอื่น ๆ แต่มีเคสตัวอย่างเกมไหนบ้างที่มีเหตุผลการเปลี่ยนชื่อเกมที่น่าสนใจ และนี่คือ 7 เกมที่ถูกเปลี่ยนชื่อด้วยเหตุผลสุดเพี้ยน ที่จะนำเสนอเกมที่มีสาเหตุการเปลี่ยนชื่อที่ผู้เล่นอาจคาดไม่ถึง

Mortal Kombat Deception / Mortal Kombat Mystification (ฝรั่งเศส)

Mortal Kombat Deception

เกมเมอร์หลายคนอาจจะงงว่าชื่อเกม Mortal Kombat: Deception มันดูแย่ตรงไหนกัน ? ใช่ ! ชื่อเกมดังกล่าวสร้างภาพลักษณ์ต่อเกมไม่ดีสำหรับประเทศฝรั่งเศส เพราะคำว่า Deception มีความหมายสำหรับชาวฝรั่งเศสว่า Disappointment หรือ น่าผิดหวัง

Mortal Kombat: น่าผิดหวัง ? แค่แปลเป็นไทยไม่มีใครอยากจะซื้อเกมนี้แล้ว ทำให้เกม Mortal Kombat: Deception เวอร์ชั่นฝรั่งเศสได้มีการเปลี่ยนชื่อเดิมกลายเป็น Mortal Kombat: Mystification ในขณะที่ทั่วทวีปยุโรปยังคงใช้ชื่อเกมดั้งเดิมต่อไป

Rockman / Mega Man (อเมริกาเหนือ)

mega-man-11

Rockman ในที่นี่ไม่ใช่หมายถึงคนเล่นเพลงดนตรีร็อค แต่เป็นชื่อเกมที่คุณจะได้รับบทเป็นเจ้าหนูสีฟ้าถือ Hand Cannon ตะลุยด่านเพื่อปราบ Dr. Wily ต่างหาก แน่นอนว่าหลายคนไม่รู้สึกคิดอะไรมากกับชื่อว่า Rockman เพราะเป็นชื่อที่เรียกง่ายและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ทางเบื้องบน Capcom คนหนึ่งรู้สึกไม่ปลื้มกับชื่อเกมนี้เท่าไหร่นัก

อ้างอิงจากคุณ Joseph Morici รองประธาน Capcom USA ในช่วงเวลานั้น กล่าวแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับชื่อไตเติ้ล Rockman ว่ามัน เชย ซะไม่มี เขาเลยเปลี่ยนชื่อเป็น Mega Man เพื่อให้เกมดูเท่ขึ้น

เป็นชื่อไตเติ้ลเกมที่แย่มาก ๆ ดังนั้นผมจึงเปลี่ยนชื่อเป็น Mega Man แทน ซึ่งเกมเมอร์ชาวสหรัฐฯ ยังคงชื่นชอบกับชื่อนี้ แต่ไม่ต้องห่วง ตัวเกมยังคงต้นฉบับญี่ปุ่นเหมือนเดิมครับ – Joseph Morici

ปัจจุบันเกมเมอร์เกือบทั่วโลกทราบกันดีว่าเกมนี้สามารถเรียกได้ทั้งสองชื่อ ไม่ว่าจะเรียกชื่อ Mega Man หรือ Rockman ผู้เล่นทุกคนก็เข้าใจว่าเป็นเกมเดียวกันโดยไม่รู้สึกสับสนแต่อย่างใด

Turnabout Trial / Phoenix Wright: Ace Attorney (อเมริกาเหนือ)

Phoenix Wright: Ace Attorney

ซีรีส์ Ace Attorney เป็นหนึ่งในเกมญี่ปุ่นที่โด่งดังมากในฝั่งสหรัฐฯ แต่เนื่องจากตัวเกมต้นฉบับมีการใช้ภาษาที่ยากเกินไป ทำให้ทีมผู้จัดจำหน่ายตัดสินใจเปลี่ยนชื่อไตเติ้ลเป็น Phoenix Wright: Ace Attorney ในขณะที่ชาวญี่ปุ่นเรียกเกมนี้ว่า Gyakuten Saiban หรือ Turnabout Trial

แต่นอกเหนือจากเปลี่ยนชื่อไตเติ้ลเกมแล้ว ทีมแปลได้ตัดสินใจเปลี่ยนชื่อตัวละครเอกในเกมเพื่อให้คล้องจองกับชื่อเกมอีกด้วย จากตัวละครเอกมีชื่อเดิมว่า Ryuichi Naruhodo (เกร็ดความรู้เล็กน้อย Naruhodo ภาษาญี่ปุ่นแปลว่า เข้าใจแล้ว) เปลี่ยนกลายเป็นชื่อว่า Phoenix Wright สำหรับเกมเวอร์ชั่นอเมริกาเท่านั้น

Fahrenheit / Indigo Prophecy (อเมริกาเหนือ)

indigo prophecy

เพราะ ชื่อโหล เป็นเหตุ ! ถ้าหากใช้ชื่อเรื่องว่า Fahrenheit ในรูปแบบสื่อบันเทิง ก็เกรงว่าชาวอเมริกาจะต้องสับสนระหว่างภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับ 9/11 เรื่อง Fahrenheit 9/11 ที่กำกับโดย Micheal Moore หรือหนังสือนิยายคลาสสิกเรื่อง Fahrenheit 451 ที่เขียนโดย Ray Bradbury หรือเป็นชื่อเรียกหน่วยวัดอุณหภูมิมาตรฐานของประเทศสหรัฐฯ

เพื่อไม่ให้สับสนไปมากกว่านี้ ผู้พัฒนาจึงเปลี่ยนชื่อเกมเป็น Indigo Prophecy สำหรับโซนสหรัฐฯ โดยเฉพาะ แต่ที่น่าแปลกใจ เพราะเมื่อเกมออกเวอร์ชั่น Remastered ในปี 2015 ตัวเกมได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น Fahrenheit: Indigo Prophecy Remastered … เอาเป็นว่าผู้เขียนจะเรียกชื่อเกมเก่าว่า Fahrenheit จะดีกว่า

Contra / Gryzor, Probotector (ยุโรปและโอเชียเนีย)

Probotector

เคสนี้จัดว่าค่อนข้างอันตรายและละเอียดอ่อนพอสมควร เพราะชื่อว่า Contra ตรงกับหน่วยทหารกบฏในชีวิตจริงชื่อว่า Nicaraguan Contra rebels หรืออาจเผลอเชื่อมต่อไปยังเหตุการณ์ข่าวฉาวทางการเมืองของประเทศสหรัฐฯ อย่าง Iran–Contra affair ซึ่งเป็นประเด็นที่ร้อนแรงมากในยุคนั้น

ทำให้การนำเข้าเกม Contra ในโซนยุโรปและโอเชียเนีย มีการเปลี่ยนชื่อจาก Contra เป็น Gryzor พร้อมกับเปลี่ยนแปลงเนื้อหาภายในเล็กน้อย เพื่อหลีกเลี่ยงการนำเสนอเนื้อหาการเมืองโดยไม่ได้ตั้งใจ

แต่อย่างไรก็ตาม เกม Contra เวอร์ชั่นยุโรปได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่ออีกครั้งจาก Gryzor กลายเป็น Probotector แล้วเปลี่ยนโมเดลจากมนุุษย์ทหารโผกผ้าหัวดั่งแรมโบ้ กลายเป็นหุ่นยนตร์รบสไตล์กันดั้มทั้งหมด เพราะเนื่องจากทวีปยุโรปในช่วงปี ’80 มีนโยบายการนำเข้าสื่อที่เข้มงวดมากโดยเฉพาะเกมหรือภาพยนตร์เนื้อหารุนแรง จึงเป็นเหตุให้ทีมงาน Konami ต้องจำใจเปลี่ยนโมเดลตัวละครเพื่อไม่ให้ส่งกระผลต่อยอดขายเกมโดยรวมในทวีปยุโรป

Bully / Canis Canem Edit (ยุโรป)
Bully

สาเหตุที่ประเทศอังกฤษ (และลามไปทั่วยุโรป) ได้มีการเปลี่ยนชื่อเกม เพราะว่า Anti-Bullying Organizations หรือองค์กรต่อต้านการกลั่นแกล้ง รู้สึกไม่พอใจกับชื่อของเกมที่เขียน “Bully” เต็มหน้าปก และต่อมา สังคมได้เกิดการกระแสต่อต้านเกมนี้จากเหล่าผู้ปกครอง เพราะนอกจากชื่อเกมจะสื่อถึงการกลั่นแกล้งแล้ว เนื้อหาภายในเกมมีการสนับสนุนการใช้ความรุนแรงภายในโรงเรียนแบบสุดโต่ง (และตัวเอกมีบทบาทเป็นเด็กเกเรอีกด้วย) จนเกิดประเด็นถกเถียงว่าเกมนี้ควรตั้งเรทอยู่ที่ 18 ปีขึ้นไป 

เพื่อไม่ให้เรื่องบานปลายมากกว่านี้ ทางทีมงาน Rockstar Games จึงตัดสินใจเปลี่ยนชื่อเกมจาก Bully เป็น Canis Canem Edit สำหรับโซนยุโรป ซึ่งชื่อเกมใหม่มาจากสโลแกนของโรงเรียน Bullworth Academy

Biohazard / Resident Evil (อเมริกาเหนือ)

Biohazard

ผู้เล่นหลายคนอาจจะเข้าใจว่าสาเหตุที่เกม Biohazard ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Resident Evil ในเวอร์ชั่นสหรัฐฯ เพราะชื่อเกมดังกล่าวดันตรงกับชื่อวงดนตรี Biohazard ก็ต้องบอกเลยว่าผิดแล้ว

สาเหตุที่แท้จริงคือ ช่วงก่อนที่จะปล่อยวางจำหน่ายเกมในฝั่งสหรัฐฯ คำว่า Biohazard เคยถูกจดทะเบียนลิขสิทธิ์เป็นชื่อเกม DOS อยู่แล้ว ทำให้ทาง Capcom US ไม่สามารถใช้ชื่อเกม Biohazard ซ้ำได้ ทีมงานจึงเปิดโหวตให้พนักงานคิดชื่อเกม Biohazard สำหรับเวอร์ชั่นสหรัฐฯ แล้วผลโหวตผู้ชนะคือ Resident Evil ที่นอกจากทีมงาน Capcom US จะถูกใจแล้ว คุณ Shinji Mikami ก็ชื่นชอบชื่อนี้เช่นกัน

ทำให้เกมเมอร์หลายคนรู้จักเกม Biohazard ในนาม Resident Evil ที่พวกเราเรียกกันคุ้นตาคุ้นหูจนถึงทุกวันนี้

Achina Limanwat

เค - Content Writer

Back to top