คุณผู้อ่านหลายท่านคงเคยได้ยินเพลงอะไรสักเพลงเปิดอยู่ระหว่างที่เราออกไปเดินห้างหรือนั่งอยู่ในบาร์ และเพลง ๆ นั้นมันช่างไรเพราะกระชากหัวใจเราเหลือเกิน คุณจึงไม่รอช้า ล้วงโทรศัพท์ขึ้นมาแล้วให้ Shazam ทำนายกัน ถ้าเปิดแอปไม่ทันหรือ Shazam ไม่ได้ยินเสียง เราก็ต้องไปถามใน Pantip แล้วเกิดเป็นเหตุการณ์ตลก ๆ อย่างที่เคยเกิดขึ้นหลายครั้ง
วันนี้เราจะมาแนะนำแอประบุเพลงนอกจาก Shazam เพราะเทคโนโลยีระบุคลื่นเสียงนี้เป็นที่นิยมมากในหมู่นักพัฒนาแอปพลิเคชั่นสำหรับอุปกรณ์พกพา และมีการแข่งขันที่เข้มข้นสำหรับแอปลักษณะนี้บน Store ขอเชิญพบกับ 6 แอปพลิเคชั่นที่สามารถใช้แทน Shazam และอาจมีฟีเจอร์บางอย่างที่เหนือกว่า Shazam ด้วย
1. SoundHound
แอปพลิเคชั่น SoundHound ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อโทรศัพท์ Smartphone โดยแอปพลิเคชั่นดังกล่าวรองรับระบบปฏิการทั้ง iOS, Android, Windows Phone และ BlackBerry
SoundHound ถือได้ว่าเป็นคู่แข่งที่สำคัญของแอปพลิเคชั่น Shazam เพราะมีฟีเจอร์ที่มากกว่าการระบุชื่อเพลงด้วยการฟังเสียง ผู้ใช้งานสามารถร้องหรือฮัมเพลงเพื่อให้ SoundHound ช่วยหาเพลงที่คุณกำลังหาค้นหาอยู่ได้ ผู้ใช้งานยังสามารถพูดชื่อศิลปินและอัลบั้ม หรือพิมพ์เนื้อเพลงลงในช่องค้นหา เพื่อให้ SoundHound หาเพลงที่คุณกำลังต้องการได้ในทันที
2. MusiXmatch
สำหรับ MusiXmatch แอปพลิเคชั่นมีอินเตอร์เฟซที่สวยงามน่าใช้ และให้รายละเอียดข้อมูลของศิลปินแบบเจาะลึก สิ่งที่แอปพลิเคชั่นทำได้โดดเด่นกว่าแอปพลิเคชั่นอื่นคือฟีเจอร์เกี่ยวกับเนื้อเพลง แอปพลิเคชั่น MusiXmatch มีฟีเจอร์ที่เรียกว่า FloatingLyrics ซึ่งแสดงเนื้อเพลงระหว่างเพลงเล่น เหมาะกับผู้ที่ต้องการร้องเพลงประกอบไปด้วย หรือผู้ที่ต้องการฝึกภาษาอังกฤษ ส่วนฟีเจอร์ตรวจจับเพลงก็ทำได้ไม่แตกต่างจาก Shazam
3. MusicID
MusicID มีฟีเจอร์หลักลักษณะเดียวกับ Shazam ในการตรวจจับเพลง แต่ฟีเจอร์ที่เพิ่มขึ้นมาคือผู้ใช้งานสามารถค้นหาเพลงได้ผ่านการพิมพ์เนื้อเพลง หลังจากแอปพลิเคชั่นค้นหาเพลงเจอแล้ว ผู้ใช้สามารถแชร์เพลงที่พบเจอลงบน Social Media และสามารถซื้อเพลงผ่าน iTunes ได้โดยตรงผ่านลิงก์ที่แนบมา อย่างไรก็ตาม MusicID อย่างไรก็ตาม MusicID ไม่สามารถทำงานร่วมกับแอปพลิเคชั่นอย่าง Spotify หรือ Apple Music ได้เหมือนแอปพลิเคชั่นอื่น
4. Genius
Genius ก็เป็นอีกหนึ่งแอปพลิเคชั่นที่ให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาเพลงที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย ฟีเจอร์เด่นของแอปพลิเคชั่นตัวนี้คือคำอธิบายประกอบเพลง เมื่อคุณค้นเพลงเจอแล้ว Genius จะแสดงเนื้อเพลงขึ้นมา และอธิบายความหมายของแต่ละท่อนอย่างละเอียด ผู้ใช้งานจึงรู้ความหมายที่แท้จริงที่ผู้แต่งสื่อออกมาในบทเพลงได้ นอกจากนี้แล้ว ผู้ใช้งานสามารถค้นหาเพลงได้ง่าย ๆ ด้วยการพิมพ์ตัวอักษรตัวแรกของชื่อเพลง แล้วรายชื่อเพลงทั้งหมดที่ตรงกับตัวอักษรดังกล่าวจะปรากฏขึ้นมา อย่างไรก็ตาม การใช้งานแอปพลิเคชั่นดังกล่าวต้องผ่านกระบวนการสมัครชิกเล็กน้อย
6. Sound Search
Sound Search ไม่ใช่แอปพลิเคชั่นอย่างเต็มรูปแบบ ที่จริงแล้วมันเป็น Widget ของระบบปฏิบัติการ Android การใช้งานก็ง่ายแสนง่ายเพียงแค่กดปุ่มตรงกลางหน้าจอก็สามารถค้นหาเพลงที่ต้องการได้ในทันที แถม Sound Search ทำความเร็วในการค้นหาได้ไวมาก เพียงแค่ 3 วินาทีก็สามารถระบุเพลงที่ฟังอยู่ได้แล้ว เมื่อ Sound Search ค้นหาเพลงสำเร็จ ผู้ใช้งานจะได้รับข้อเสนอให้ซื้อเพลงที่ค้นหาบน Google Play
Sound Search ถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ใช้งานโทรศัพท์ระบบปฏิบัติการ Android เพราะผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นตัวเต็มมาใช้งาน แถม Sound Search มีฟีเจอร์หลักที่คล้ายกับแอปพลิเคชั่นเหล่านั้นเช่นกัน
7. Siri
ผู้ใช้งาน iPhone ก็ไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นค้นหาเพลงต่าง ๆ ให้วุ่นวาย เพราะ Siri สามารถทำได้เหมือนแอปพลิเคชั่นเหล่านั้น การใช้งานก็ไม่ต่างกับการใช้งาน Shazam ผู้ใช้งานเพียงแค่เปิดเพลงให้ Siri ฟัง แล้ว Siri จะบอกผู้ใช้งานเพลงดังกล่าวคือเพลงอะไร และจะพาคุณไปซื้อเพลงเหล่านั้นที่ iTunes