แม้ว่า Reverse: 1999 จะเป็นเกม RPG Turn-Based ที่หลายคนคุ้นเคยกันดี แต่มีหลายสิ่งหลายอย่างที่อาจจะต้องเรียนรู้ เพื่อเข้าใจถึงระบบของเกมทั้งหมด และสำหรับผู้ที่สนใจจะเข้ามาเล่นเกม นี่คือ Ultimate Guide หรือข้อมูลเบื้องต้นทั้งหมดที่ควรรู้เอาไว้ ตั้งแต่เริ่มเล่นไปจนถึงระดับสูง
กลยุทธ์การต่อสู้
คือโหมดฝึกสอนและทดสอบของตัวเกม ที่เมื่อทำครบหมดแล้ว สามารถรับรางวัลเป็น Clear Drop (เพชรที่ใช้สุ่มกาชาในเกมนี้) รวมไปถึงของอัปเกรดตัวละคร Sonetto ด้วย ถ้าพร้อมแล้วมาดูกันไปทีละข้อเลย
- บทที่ 1 Afflatus Relations: บางครั้ง Afflatus ของเราอาจแข็งแกร่งหรืออ่อนแอต่อศัตรู เราจำเป็นต้องเรียนรู้ตามหลักการนี้และเลือกพลัง Arcane ที่เหมาะสมตามศัตรู
ที่ด้านขวาของหลอดพลังชีวิตศัตรูจะปรากฎสัญลักษณ์ Afflatus ซึ่งสำหรับเกมนี้อาจอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า “ประเภท” ของตัวละครและศัตรูตัวนั้น ๆ และที่ด้านล่างขวา ที่เป็นพลัง Arcane Skill ของแต่ละตัวละคร จะมีบอกว่าสกิลใดบ้าง ที่มีประสิทธิภาพในการโจมตีศัตรูได้มากขึ้นโดยจะมีคำว่า Stronger ขึ้นอยู่ที่ด้านมุมบนขวาของสกิล
- บทที่ 2 Concentrated Attack Strategy: เมื่อใดที่ศัตรูจะสามารถโจมตีเราได้ในเทิร์นต่อไป ให้สังเกตรูปการ์ดดาบสีแดงบนหัว หากมีสองใบ ให้เราวางแผนรับมือหรือป้องกันให้ดี
เมื่อกำจัดศัตรูลงได้ ค่า AP (Action Point) ของศัตรูจะลดลง และเราจะเป็นฝ่ายได้เริ่มเทิร์นต่อไปก่อน ดังนั้น หากบริหารจัดการเทิร์นดี ๆ เราจะสามารถปราบศัตรูและชิงความได้เปรียบเรื่องเทิร์นไปเรื่อย ๆ จนเอาชนะได้
- บทที่ 3 Diversified Damage: ศัตรูบางตัวจะมีความคล่องตัวเป็นพิเศษ สกิลความเสียหายบางประเภทจะไม่ส่งผลต่อพวกมัน ผู้เล่นต้องจำสกิลแต่ละประเภทให้ดีและเลือกใช้สกิลให้เหมาะสม ในระหว่างการต่อสู้เราสามารถกดค้างที่ตัวศัตรูเพื่อดูข้อมูลเชิงลึกได้ โดยกดคำว่า Strong Will
กรณีในภาพด้านบนมีการระบุว่า ศัตรูมีความสามารถเข้าสู่สถานะ [Steadfast] ตั้งแต่เข้าสู่การต่อสู้ไปจนจบ และมีอธิบายไว้ว่า [Steadfast] จะมีความสามารถในการหลีกเลี่ยงดาเมจประเภท Mental DMG ได้ทั้งหมด ยกเว้นสกิลประเภท Ultimate
แน่นอนว่าตัวละครของเราเองก็มีการแบ่งประเภท DMG เหมือนกัน (คนละอันกับประเภท Afflatus ด้านบน) วิธีดูก็คือ คลิกค้างที่ตัวละครของเรา จะมีการระบุไว้ที่ข้าง ๆ เลเวลตัวละคร เช่นในภาพ ตัวละคร Sonetto นั้น เป็นประเภท Reality DMG และสามารถโจมตีศัตรูด้านบนได้นั่นเอง ดังนั้นการต่อสู้ทุกครั้ง ให้ตรวจสถานะศัตรูด้วยว่ามีความต้านทานการโจมตีประเภทใดบ้างหรือไม่
- หมายเหตุ: เกมนี้มีการโจมตีอยู่สองประเภทคือ Reality DMG และ Mental DMG เปรียบเสมือนการโจมตีกายภาพกับเวทย์มนตร์ Reality คือกายภาพ และ Mental คือเวทย์มนตร์
- บทที่ 4 Fundamental Upgrade: การ์ดสกิลของเราด้านล่างนั้น จะสังเกตได้ว่ามีดาวอยู่เหนือการ์ดแต่ละใบ นั่นหมายถึงระดับขั้นของการ์ดสกิลใบนั้น ๆ วิธีการเลื่อนระดับขั้นก็ทำง่าย ๆ เพียงลากการ์ดสกิลแบบเดียวกัน และระดับดาวเท่ากัน ไปไว้ใกล้กันก็เรียบร้อย และการเลื่อนระดับขั้น บางครั้งจะเปลี่ยนเอฟเฟกต์ของสกิลนั้น ๆ ไปด้วย แต่การใช้วิธีนี้จะทำให้เราเสีย Action ในเทิร์นนั้นไปด้วย 1 เทิร์น เช่นจากที่จะร่ายสกิลไป 2 ครั้ง อาจจะเหลือแค่ 1 ครั้ง
ยกตัวอย่างเช่นในกรณีนี้ ตัวละครกำลังจะถูกโจมตี แต่ความสามารถสกิลของ Sonetto เมื่อเลื่อนขั้นการ์ดสกิลเป็นระดับ 2 แล้ว จะเปลี่ยนจากสกิลโจมตีเป็น Debuff หรือตัดความสามารถของศัตรูทันที โดยทุกตัวละคร จะมีรูปแบบการทำงานแบบนี้เหมือนกันหมด บางสกิลอาจเปลี่ยนรูปแบบความสามารถไปได้ ให้ผู้เล่นลองศึกษาตัวละครแต่ละตัวดูอีกที
- บทที่ 5 Advanced Upgrade: บทเรียนเสริมต่อเนื่องจากบทที่ 4 การผสมการ์ด ไม่จำเป็นจะต้องลากสกิลที่เหมือนกันไปไว้ใกล้กันเพื่อเลื่อนขั้นสกิลเสมอไป กรณีที่การ์ดสกิลที่เหมือนกันถูกแทรกตรงกลางไว้ เราสามารถกดใช้สกิลที่คั่น เพื่อให้การ์ดอีกสองใบมาอยู๋ติดกันโดยอัตโนมัติ และการ์ดสกิลที่มีเลเวลเท่ากัน และเป็นใบเดียวกันอยู่ติดกัน มันจะถูกผสมรวมกันและเลื่อนขั้นโดยอัตโนมัติทันที ดั่งเช่นในภาพ
- บทที่ 6 Merging Rule: ใน 1 เทิร์นของทีมเรา จะมีแต้ม Action Point ที่จำกัด การวางแผนการใช้การ์ดสกิลที่ดี จึงเป็นตัวแปรสำคัญในการคว้าชัยชนะในการต่อสู้ ในบทนี้เราจะได้เรียนรู้การเลื่อนขั้นการ์ด เพื่อตัดกำลังศัตรูและเอาชนะศัตรูได้ด้วยตัวเอง หากคุณทำความเข้าใจ 5 บทแรกมาเป็นอย่างดี บทนี้จะไม่ยากเลย
- บทที่ 7 Tactic to Disarm: จงโฟกัสศัตรูที่เตรียมพร้อมโจมตีด้วยการ์ดรูปดาบสีแดงสองใบตามที่เรียนรู้มา ในบทเรียนนี้จะมีการย้ำกันอีกครั้งว่า สกิลขั้นที่ 2 ของ Sonetto จะมีความสามารถในการขัดขวางการโจมตีของศัตรู โดยเป็นการทำดาเมจประเภท Reality 200% พร้อมทำให้ศัตรูติดสถานะ Disarm ศัตรูที่ติดสถานะนี้จะไม่สามารถโจมตีหรือใช้สกิลได้ และหลังจากควบคุมศัตรู 1 ตัวได้แล้ว เราก็ต้องดูศัตรูตัวอื่นว่า มีตัวใดที่เราพอจะจัดการได้บ้าง เพื่อลดความเสียหายในเทิร์นนั้นให้เหลือน้อยที่สุด
- บทที่ 8 Tactic to Silence: ในการต่อสู้ ศัตรูไม่ได้ใช้สกิลโจมตีเท่านั้น แต่บางศัตรูบางประเภทจะใช้สกิลสนับสนุนพวกเดียวกันเอง ซึ่งอาจทำให้การเล่นของเราลำบากขึ้น ในบทเรียนนี้ เราจะได้ใช้สกิลของ Zima เพื่อเรียนรู้การควบคุมศัตรูจำพวกนี้ ตัวละครใดก็ตามที่มีความสามารถ Silence จะสามารถใบ้ศัตรูไม่ให้ใช้สกิลประเภท Buff, Debuff, Healing หรือ Counter ได้
- บทที่ 9 Tactic to Mediate: หากเจอกับศัตรูบางประเภทที่ใช้ท่าไม้ตายได้ทุกรอบ จะเป็นการเล่นที่ลำบากมาก เราต้องเรียนรู้ในการใช้สกิลหรือการโจมตีบางประเภทเพื่อลดค่า Moxie ของพวกมัน Moxie คือสัญลักษณ์สี่เหลี่ยมแสงที่อยู่ใต้หลอดพลังชีวิตทั้งของเราและศัตรู โดยมีทั้งหมด 5 ดวง หาก Moxie ครบ 5 ดวง จะสุ่มการ์ดอัลติเมทหรือท่าไม้ตายออกมาให้เราได้ใช้งาน กรณีที่เป็นฝั่งศัตรู ศัตรูก็จะใช้ท่าไม้ตายใส่เราได้เช่นกัน แต่ในเกมจะมีตัวละครและสกิลที่ใช้ลดค่า Moxie ลงอยู่ด้วย
ในบทเรียนนี้ เราจะได้ใช้ตัวละคร Bkornblume โดยท่าไม้ตายของเธอจะมีความสามารถ Seal ถึง 3 เทิร์น ที่ใช้ปิดผนึกความสามารถศัตรูได้ แต่หากศัตรูตัวใดมีความสามารถต้านทานสถานะนี้ จะไปหักลดค่า Moxie ลง 2 ดวงแทน หรือตัวละคร Nick Bottom เอง สกิล Wild Rose ในระดับ 2 นอกจากจะทำดาเมจ Mental DMG 250% กับศัตรู 1 ตัวแล้ว ยังช่วยลดค่า Moxie ศัตรูลง 1 ดวงด้วย เป็นต้น
- บทที่ 10 Prepare for the Ultimate: บทเรียนเสริมต่อจากบทที่ 9 การที่เราจะสะสมค่า Moxie เพื่อใช้สกิลอัลติเมทได้นั้น จะได้มาจากการที่เราเลื่อนการ์ดสกิล ผสมการ์ดสกิล และร่ายสกิล ยิ่งผสมการ์ดระดับสูงก็ยิ่งได้ค่า Moxie ที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยสกิลไม้ตายของแต่ละตัวละครก็จะมีเอฟเฟคท์ความสามารถไม่เหมือนกันด้วย
- บทที่ 11 Buy Time: แม้บางสถานการณ์เราจะสามารถจัดการศัตรูตัวสุดท้ายของเวฟได้แล้ว แต่ถ้า Action Point เหลือเยอะเกินไป เรามีทางเลือกในการร่ายสกิลบัฟหรือฟื้นฟูพลังชีวิตได้ก่อน เพื่อให้เวฟต่อไป ทีมเรามีความสามารถพร้อมสู้มากยิ่งขึ้น เพราะในบางสถานการณ์ เราอาจจะต้องการการวางแผนที่รัดกุม เพื่อให้ตัวละครของเรารอดตายและจบเทิร์นไปได้
- บทที่ 12 Start with Ultimate: ในบางครั้ง หากการต่อสู้ยืดเยื้อ เทิร์นต่อไป ศัตรูอาจเริ่มต้นด้วยสกิลอัลติเมท และหากเราไม่มีสกิลอัลติเมทมาโจมตีก่อนหรือโต้กลับ ก็มีโอกาสที่เราจะพ่ายแพ้อย่างมาก และในการสลับการ์ดนั้น เราสามารถสลับได้เรื่อย ๆ ทุก ๆ การสลับจะได้แต้ม Moxie 1 ดวงด้วย อย่างกรณีในภาพ เราสามารถสลับการ์ดของ Sonetto ไปมา เพื่อสะสม Moxie อีก 2 ดวง เพื่อใช้อัลติเมทในเทิร์นต่อไปได้เลย
- บทที่ 13 Tuning O’ One: เมื่อการใช้สกิลแรกล้มเลว ระบบหนึ่งที่จะช่วยให้เรากอบกู้สถานการณ์วิกฤติได้ ก็คือ Tuning ระบบนี้จะเป็นสัญลักษณ์อยู่ทางด้านซ้ายของการต่อสู้ โดยเป็นพลังพิเศษเฉพาะของ Timekeeper ระบบ Tuning จะต้องใช้ค่า Cost ในการใช้ ความสามารถคือยกระดับการ์ดสกิลขึ้นมา 1 ดาวทันที โดยไม่เสียแอ็คชั่นเทิร์นในรอบนั้น แล้วแต่เลยว่าเราอยากอัปเกรดการ์ดสกิลใบใด
- บทที่ 14 Tuning O’ Two: บทเรียนเสริมต่อจากบทที่ 13 ในบางสถานการณ์ การ์ดสกิลของผู้เล่น อาจไม่มีใบไหนในมือเลยที่ใช้โจมตีศัตรูได้ การใช้ระบบ Tuning จะเป็นตัวช่วยให้เราออกจากสถานการณ์คับขันนี้ได้เช่นกัน โดยใช้หัวข้อที่สอง ที่เป็นสัญลักษณ์สามเหลี่ยมสีส้ม ความสามารถนี้จะเป็นการคงระดับการ์ดสกิลทั้งหมดไว้ แต่จะสุ่มเปลี่ยนจำนวนการ์ดสกิลใหม่ทั้งหมด เปรียบเสมือนทิ้งการ์ดชุดเดิมออก แต่หยิบชุดใหม่ขึ้นมาแทน ซึ่งจะทำให้เราสุ่มได้การืดที่ใช้โจมตีได้มากขึ้น
- บทที่ 15 Co-op Attack ในเกมนี้สกิลการโจมตีหมู่จะสร้างความเสียหายให้กับเป้าหมายในปัจจุบันเท่า ๆ กัน เช่นเดียวกันกับเป้าหมายอื่น ๆ ที่ถูกสุ่มเลือกจากศัตรูที่เหลือ และเป้าหมายหลักสำหรับการโจมตีหมู่จะถูกตรึงไว้กับศัตรูบางตัว เมื่อจำนวนศัตรูลดลง จุดประสงค์ของบทเรียนนี้คือ หากมีศัตรูตัวอื่นที่พลังชีวิตเหลือน้อย เราสามารถโจมตีศัตรูตัวอื่นแทน เพื่อให้สกิลการโจมตีหมู่ไปลดเลือดพวกมันจนตายได้ และเอาชนะทั้งหมดในคราวเดียวกัน
- บทที่ 16 Skillful Attack: ตัวละครแต่ละตัวจะออกแอ็คชั่นตามลำดับที่คุณเลือกใส่สกิลไปใน AP Area (ด้านบนกลางจอ) และบางสกิลก็มีความสามารถพิเศษแฝง เช่นสกิล Tempest to Thee! ของ Charlie ที่นอกจากจะทำความเสียหายแล้ว หากผู้ใช้มีพลังชีวิตน้อยกว่า 50% จะทำดาเมจ Mental DMG เพิ่มเติมอีก 60% หรือสกิล Dirty Thing ของ Pavia ที่หากใช้ตอนพลังชีวิตเหลือมากกว่า 50% จะทำดาเมจ Men DMG เพิ่มเติมอีก 50% เป็นต้น แต่ละสกิล และแต่ละตัวละครก็จะมีเงื่อนไขที่ต่างกัน และเมื่อมีสกิลไหนที่เอฟเฟคท์แฝงทำงาน จะมีลูกศรชี้ขึ้นอยู่ที่ด้านซ้ายบนของการ์ดสกิลใบนั้น ดังนั้น หากคอมโบการใช้งานได้ดี ก็จะกำจัดศัตรูได้
นับตั้งแต่บทที่ 17-19 จะเป็นสามบทของการทดสอบความรู้ความสามารถที่เราได้เรียนรู้มาตลอดทั้งเกม จะมีความยากและซับซ้อนในการเอาชนะพอสมควร
- บทที่ 17 Targeting Exam: การทดสอบนี้จะสอนถึงความสามารถพิเศษของศัตรูในการต่อสู้สนามนั้น อย่างในบทนี้ เมื่อมีใครในทีมศัตรูตาย จะมีการฟื้นฟูพลังชีวิตให้กับเพื่อนร่วมทีม คำนวณจาก HP + (HP สูงสุดของเป้าหมายแต่ละตัว x20%) ทำให้เราต้องเอาชนะด้วยการจัดวางลำดับ และเลือกเป้าหมายในการวางลำดับสกิลให้ดี
- บทที่ 18 Play a Waiting Game: ในบททดสอบนี้ ศัตรูจะสามารถโจมตีได้หลายเป้าหมายในการโจมตีครั้งเดียว การตัดสินใจออกแอ็คชั่นต่าง ๆ จะมีความสำคัญและความจำเป็นอย่างมากต่อสถานการณ์การต่อสู้ ความน่าสนใจของด่านนี้คือ เราจะได้เห็น Schneider เป็นตัวละครที่เล่นได้ด้วย
- บทที่ 19 Visionary Insight: ในบทสุดท้ายนี้ จะเป็นการวัดความคิด ความสามารถทั้งหมด โดยระบบจะบอกว่า ลำดับการปล่อยสกิล จะเป็นตัวตัดสินผลลัพธ์ ในบทนี้ก็ไม่มีอะไรมาก จัดการศัตรูลงทั้งหมดด้วยบทเรียนทั้ง 18 บทที่ผ่านมา เป็นอันเสร็จสิ้น และสามารถเล่นเกมนี้ได้อย่างเข้าใจมากยิ่งขึ้น
เมื่อจบบทฝึกสอนทั้งหมดแล้ว เราจะได้ Clear Drop รวมกันแล้ว 460 และได้แผ่นเสียง Grand Orchestra กับ Artifice of Sonetto ที่ใช้เลื่อนขั้นตัวละคร Sonetto ด้วย เป็นอันเสร็จสิ้นการปูพื้นของเกมนี้ทั้งหมด