BY Aisoon Srikum
27 Feb 24 1:08 pm

Reverse: 1999 ระบบการเล่นพื้นฐานและการทดสอบทั้ง 19 บทของตัวเกม

261 Views

แม้ว่า Reverse: 1999 จะเป็นเกม RPG Turn-Based ที่หลายคนคุ้นเคยกันดี แต่มีหลายสิ่งหลายอย่างที่อาจจะต้องเรียนรู้ เพื่อเข้าใจถึงระบบของเกมทั้งหมด และสำหรับผู้ที่สนใจจะเข้ามาเล่นเกม นี่คือ Ultimate Guide หรือข้อมูลเบื้องต้นทั้งหมดที่ควรรู้เอาไว้ ตั้งแต่เริ่มเล่นไปจนถึงระดับสูง

กลยุทธ์การต่อสู้

คือโหมดฝึกสอนและทดสอบของตัวเกม ที่เมื่อทำครบหมดแล้ว สามารถรับรางวัลเป็น Clear Drop (เพชรที่ใช้สุ่มกาชาในเกมนี้) รวมไปถึงของอัปเกรดตัวละคร Sonetto ด้วย ถ้าพร้อมแล้วมาดูกันไปทีละข้อเลย

  • บทที่ 1 Afflatus Relations: บางครั้ง Afflatus ของเราอาจแข็งแกร่งหรืออ่อนแอต่อศัตรู เราจำเป็นต้องเรียนรู้ตามหลักการนี้และเลือกพลัง Arcane ที่เหมาะสมตามศัตรู

ที่ด้านขวาของหลอดพลังชีวิตศัตรูจะปรากฎสัญลักษณ์ Afflatus ซึ่งสำหรับเกมนี้อาจอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า “ประเภท” ของตัวละครและศัตรูตัวนั้น ๆ และที่ด้านล่างขวา ที่เป็นพลัง Arcane Skill ของแต่ละตัวละคร จะมีบอกว่าสกิลใดบ้าง ที่มีประสิทธิภาพในการโจมตีศัตรูได้มากขึ้นโดยจะมีคำว่า Stronger ขึ้นอยู่ที่ด้านมุมบนขวาของสกิล

 

  • บทที่ 2 Concentrated Attack Strategy: เมื่อใดที่ศัตรูจะสามารถโจมตีเราได้ในเทิร์นต่อไป ให้สังเกตรูปการ์ดดาบสีแดงบนหัว หากมีสองใบ ให้เราวางแผนรับมือหรือป้องกันให้ดี

3

เมื่อกำจัดศัตรูลงได้ ค่า AP (Action Point) ของศัตรูจะลดลง และเราจะเป็นฝ่ายได้เริ่มเทิร์นต่อไปก่อน ดังนั้น หากบริหารจัดการเทิร์นดี ๆ เราจะสามารถปราบศัตรูและชิงความได้เปรียบเรื่องเทิร์นไปเรื่อย ๆ จนเอาชนะได้

 

  • บทที่ 3 Diversified Damage: ศัตรูบางตัวจะมีความคล่องตัวเป็นพิเศษ สกิลความเสียหายบางประเภทจะไม่ส่งผลต่อพวกมัน ผู้เล่นต้องจำสกิลแต่ละประเภทให้ดีและเลือกใช้สกิลให้เหมาะสม ในระหว่างการต่อสู้เราสามารถกดค้างที่ตัวศัตรูเพื่อดูข้อมูลเชิงลึกได้ โดยกดคำว่า Strong Will

4

กรณีในภาพด้านบนมีการระบุว่า ศัตรูมีความสามารถเข้าสู่สถานะ [Steadfast] ตั้งแต่เข้าสู่การต่อสู้ไปจนจบ และมีอธิบายไว้ว่า [Steadfast] จะมีความสามารถในการหลีกเลี่ยงดาเมจประเภท Mental DMG ได้ทั้งหมด ยกเว้นสกิลประเภท Ultimate

แน่นอนว่าตัวละครของเราเองก็มีการแบ่งประเภท DMG เหมือนกัน (คนละอันกับประเภท Afflatus ด้านบน) วิธีดูก็คือ คลิกค้างที่ตัวละครของเรา จะมีการระบุไว้ที่ข้าง ๆ เลเวลตัวละคร เช่นในภาพ ตัวละคร Sonetto นั้น เป็นประเภท Reality DMG และสามารถโจมตีศัตรูด้านบนได้นั่นเอง ดังนั้นการต่อสู้ทุกครั้ง ให้ตรวจสถานะศัตรูด้วยว่ามีความต้านทานการโจมตีประเภทใดบ้างหรือไม่

  • หมายเหตุ: เกมนี้มีการโจมตีอยู่สองประเภทคือ Reality DMG และ Mental DMG เปรียบเสมือนการโจมตีกายภาพกับเวทย์มนตร์ Reality คือกายภาพ และ Mental คือเวทย์มนตร์

 

  • บทที่ 4 Fundamental Upgrade: การ์ดสกิลของเราด้านล่างนั้น จะสังเกตได้ว่ามีดาวอยู่เหนือการ์ดแต่ละใบ นั่นหมายถึงระดับขั้นของการ์ดสกิลใบนั้น ๆ วิธีการเลื่อนระดับขั้นก็ทำง่าย ๆ เพียงลากการ์ดสกิลแบบเดียวกัน และระดับดาวเท่ากัน ไปไว้ใกล้กันก็เรียบร้อย และการเลื่อนระดับขั้น บางครั้งจะเปลี่ยนเอฟเฟกต์ของสกิลนั้น ๆ ไปด้วย แต่การใช้วิธีนี้จะทำให้เราเสีย Action ในเทิร์นนั้นไปด้วย 1 เทิร์น เช่นจากที่จะร่ายสกิลไป 2 ครั้ง อาจจะเหลือแค่ 1 ครั้ง

ยกตัวอย่างเช่นในกรณีนี้ ตัวละครกำลังจะถูกโจมตี แต่ความสามารถสกิลของ Sonetto เมื่อเลื่อนขั้นการ์ดสกิลเป็นระดับ 2 แล้ว จะเปลี่ยนจากสกิลโจมตีเป็น Debuff หรือตัดความสามารถของศัตรูทันที โดยทุกตัวละคร จะมีรูปแบบการทำงานแบบนี้เหมือนกันหมด บางสกิลอาจเปลี่ยนรูปแบบความสามารถไปได้ ให้ผู้เล่นลองศึกษาตัวละครแต่ละตัวดูอีกที

 

  • บทที่ 5 Advanced Upgrade: บทเรียนเสริมต่อเนื่องจากบทที่ 4 การผสมการ์ด ไม่จำเป็นจะต้องลากสกิลที่เหมือนกันไปไว้ใกล้กันเพื่อเลื่อนขั้นสกิลเสมอไป กรณีที่การ์ดสกิลที่เหมือนกันถูกแทรกตรงกลางไว้ เราสามารถกดใช้สกิลที่คั่น เพื่อให้การ์ดอีกสองใบมาอยู๋ติดกันโดยอัตโนมัติ และการ์ดสกิลที่มีเลเวลเท่ากัน และเป็นใบเดียวกันอยู่ติดกัน มันจะถูกผสมรวมกันและเลื่อนขั้นโดยอัตโนมัติทันที ดั่งเช่นในภาพ

 

  • บทที่ 6 Merging Rule: ใน 1 เทิร์นของทีมเรา จะมีแต้ม Action Point ที่จำกัด การวางแผนการใช้การ์ดสกิลที่ดี จึงเป็นตัวแปรสำคัญในการคว้าชัยชนะในการต่อสู้ ในบทนี้เราจะได้เรียนรู้การเลื่อนขั้นการ์ด เพื่อตัดกำลังศัตรูและเอาชนะศัตรูได้ด้วยตัวเอง หากคุณทำความเข้าใจ 5 บทแรกมาเป็นอย่างดี บทนี้จะไม่ยากเลย

8

 

  • บทที่ 7 Tactic to Disarm: จงโฟกัสศัตรูที่เตรียมพร้อมโจมตีด้วยการ์ดรูปดาบสีแดงสองใบตามที่เรียนรู้มา ในบทเรียนนี้จะมีการย้ำกันอีกครั้งว่า สกิลขั้นที่ 2 ของ Sonetto จะมีความสามารถในการขัดขวางการโจมตีของศัตรู โดยเป็นการทำดาเมจประเภท Reality 200% พร้อมทำให้ศัตรูติดสถานะ Disarm ศัตรูที่ติดสถานะนี้จะไม่สามารถโจมตีหรือใช้สกิลได้ และหลังจากควบคุมศัตรู 1 ตัวได้แล้ว เราก็ต้องดูศัตรูตัวอื่นว่า มีตัวใดที่เราพอจะจัดการได้บ้าง เพื่อลดความเสียหายในเทิร์นนั้นให้เหลือน้อยที่สุด

9

 

  • บทที่ 8 Tactic to Silence: ในการต่อสู้ ศัตรูไม่ได้ใช้สกิลโจมตีเท่านั้น แต่บางศัตรูบางประเภทจะใช้สกิลสนับสนุนพวกเดียวกันเอง ซึ่งอาจทำให้การเล่นของเราลำบากขึ้น ในบทเรียนนี้ เราจะได้ใช้สกิลของ Zima เพื่อเรียนรู้การควบคุมศัตรูจำพวกนี้ ตัวละครใดก็ตามที่มีความสามารถ Silence จะสามารถใบ้ศัตรูไม่ให้ใช้สกิลประเภท Buff, Debuff, Healing หรือ Counter ได้

 

  • บทที่ 9 Tactic to Mediate: หากเจอกับศัตรูบางประเภทที่ใช้ท่าไม้ตายได้ทุกรอบ จะเป็นการเล่นที่ลำบากมาก เราต้องเรียนรู้ในการใช้สกิลหรือการโจมตีบางประเภทเพื่อลดค่า Moxie ของพวกมัน Moxie คือสัญลักษณ์สี่เหลี่ยมแสงที่อยู่ใต้หลอดพลังชีวิตทั้งของเราและศัตรู โดยมีทั้งหมด 5 ดวง หาก Moxie ครบ 5 ดวง จะสุ่มการ์ดอัลติเมทหรือท่าไม้ตายออกมาให้เราได้ใช้งาน กรณีที่เป็นฝั่งศัตรู ศัตรูก็จะใช้ท่าไม้ตายใส่เราได้เช่นกัน แต่ในเกมจะมีตัวละครและสกิลที่ใช้ลดค่า Moxie ลงอยู่ด้วย

ในบทเรียนนี้ เราจะได้ใช้ตัวละคร Bkornblume โดยท่าไม้ตายของเธอจะมีความสามารถ Seal ถึง 3 เทิร์น ที่ใช้ปิดผนึกความสามารถศัตรูได้ แต่หากศัตรูตัวใดมีความสามารถต้านทานสถานะนี้ จะไปหักลดค่า Moxie ลง 2 ดวงแทน หรือตัวละคร Nick Bottom เอง สกิล Wild Rose ในระดับ 2 นอกจากจะทำดาเมจ Mental DMG 250% กับศัตรู 1 ตัวแล้ว ยังช่วยลดค่า Moxie ศัตรูลง 1 ดวงด้วย เป็นต้น

 

  • บทที่ 10 Prepare for the Ultimate: บทเรียนเสริมต่อจากบทที่ 9 การที่เราจะสะสมค่า Moxie เพื่อใช้สกิลอัลติเมทได้นั้น จะได้มาจากการที่เราเลื่อนการ์ดสกิล ผสมการ์ดสกิล และร่ายสกิล ยิ่งผสมการ์ดระดับสูงก็ยิ่งได้ค่า Moxie ที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยสกิลไม้ตายของแต่ละตัวละครก็จะมีเอฟเฟคท์ความสามารถไม่เหมือนกันด้วย

 

  • บทที่ 11 Buy Time: แม้บางสถานการณ์เราจะสามารถจัดการศัตรูตัวสุดท้ายของเวฟได้แล้ว แต่ถ้า Action Point เหลือเยอะเกินไป เรามีทางเลือกในการร่ายสกิลบัฟหรือฟื้นฟูพลังชีวิตได้ก่อน เพื่อให้เวฟต่อไป ทีมเรามีความสามารถพร้อมสู้มากยิ่งขึ้น เพราะในบางสถานการณ์ เราอาจจะต้องการการวางแผนที่รัดกุม เพื่อให้ตัวละครของเรารอดตายและจบเทิร์นไปได้

 

  • บทที่ 12 Start with Ultimate: ในบางครั้ง หากการต่อสู้ยืดเยื้อ เทิร์นต่อไป ศัตรูอาจเริ่มต้นด้วยสกิลอัลติเมท และหากเราไม่มีสกิลอัลติเมทมาโจมตีก่อนหรือโต้กลับ ก็มีโอกาสที่เราจะพ่ายแพ้อย่างมาก และในการสลับการ์ดนั้น เราสามารถสลับได้เรื่อย ๆ ทุก ๆ การสลับจะได้แต้ม Moxie 1 ดวงด้วย อย่างกรณีในภาพ เราสามารถสลับการ์ดของ Sonetto ไปมา เพื่อสะสม Moxie อีก 2 ดวง เพื่อใช้อัลติเมทในเทิร์นต่อไปได้เลย

 

  • บทที่ 13 Tuning O’ One: เมื่อการใช้สกิลแรกล้มเลว ระบบหนึ่งที่จะช่วยให้เรากอบกู้สถานการณ์วิกฤติได้ ก็คือ Tuning ระบบนี้จะเป็นสัญลักษณ์อยู่ทางด้านซ้ายของการต่อสู้ โดยเป็นพลังพิเศษเฉพาะของ Timekeeper ระบบ Tuning จะต้องใช้ค่า Cost ในการใช้ ความสามารถคือยกระดับการ์ดสกิลขึ้นมา 1 ดาวทันที โดยไม่เสียแอ็คชั่นเทิร์นในรอบนั้น แล้วแต่เลยว่าเราอยากอัปเกรดการ์ดสกิลใบใด

 

  • บทที่ 14 Tuning O’ Two: บทเรียนเสริมต่อจากบทที่ 13 ในบางสถานการณ์ การ์ดสกิลของผู้เล่น อาจไม่มีใบไหนในมือเลยที่ใช้โจมตีศัตรูได้ การใช้ระบบ Tuning จะเป็นตัวช่วยให้เราออกจากสถานการณ์คับขันนี้ได้เช่นกัน โดยใช้หัวข้อที่สอง ที่เป็นสัญลักษณ์สามเหลี่ยมสีส้ม ความสามารถนี้จะเป็นการคงระดับการ์ดสกิลทั้งหมดไว้ แต่จะสุ่มเปลี่ยนจำนวนการ์ดสกิลใหม่ทั้งหมด เปรียบเสมือนทิ้งการ์ดชุดเดิมออก แต่หยิบชุดใหม่ขึ้นมาแทน ซึ่งจะทำให้เราสุ่มได้การืดที่ใช้โจมตีได้มากขึ้น

 

  • บทที่ 15 Co-op Attack ในเกมนี้สกิลการโจมตีหมู่จะสร้างความเสียหายให้กับเป้าหมายในปัจจุบันเท่า ๆ กัน เช่นเดียวกันกับเป้าหมายอื่น ๆ ที่ถูกสุ่มเลือกจากศัตรูที่เหลือ และเป้าหมายหลักสำหรับการโจมตีหมู่จะถูกตรึงไว้กับศัตรูบางตัว เมื่อจำนวนศัตรูลดลง จุดประสงค์ของบทเรียนนี้คือ หากมีศัตรูตัวอื่นที่พลังชีวิตเหลือน้อย เราสามารถโจมตีศัตรูตัวอื่นแทน เพื่อให้สกิลการโจมตีหมู่ไปลดเลือดพวกมันจนตายได้ และเอาชนะทั้งหมดในคราวเดียวกัน

 

  • บทที่ 16 Skillful Attack: ตัวละครแต่ละตัวจะออกแอ็คชั่นตามลำดับที่คุณเลือกใส่สกิลไปใน AP Area (ด้านบนกลางจอ) และบางสกิลก็มีความสามารถพิเศษแฝง เช่นสกิล Tempest to Thee! ของ Charlie ที่นอกจากจะทำความเสียหายแล้ว หากผู้ใช้มีพลังชีวิตน้อยกว่า 50% จะทำดาเมจ Mental DMG เพิ่มเติมอีก 60% หรือสกิล Dirty Thing ของ Pavia ที่หากใช้ตอนพลังชีวิตเหลือมากกว่า 50% จะทำดาเมจ Men DMG  เพิ่มเติมอีก 50% เป็นต้น แต่ละสกิล และแต่ละตัวละครก็จะมีเงื่อนไขที่ต่างกัน และเมื่อมีสกิลไหนที่เอฟเฟคท์แฝงทำงาน จะมีลูกศรชี้ขึ้นอยู่ที่ด้านซ้ายบนของการ์ดสกิลใบนั้น ดังนั้น หากคอมโบการใช้งานได้ดี ก็จะกำจัดศัตรูได้

 

นับตั้งแต่บทที่ 17-19 จะเป็นสามบทของการทดสอบความรู้ความสามารถที่เราได้เรียนรู้มาตลอดทั้งเกม จะมีความยากและซับซ้อนในการเอาชนะพอสมควร

  • บทที่ 17 Targeting Exam: การทดสอบนี้จะสอนถึงความสามารถพิเศษของศัตรูในการต่อสู้สนามนั้น อย่างในบทนี้ เมื่อมีใครในทีมศัตรูตาย จะมีการฟื้นฟูพลังชีวิตให้กับเพื่อนร่วมทีม คำนวณจาก HP + (HP สูงสุดของเป้าหมายแต่ละตัว x20%) ทำให้เราต้องเอาชนะด้วยการจัดวางลำดับ และเลือกเป้าหมายในการวางลำดับสกิลให้ดี

 

  • บทที่ 18 Play a Waiting Game: ในบททดสอบนี้ ศัตรูจะสามารถโจมตีได้หลายเป้าหมายในการโจมตีครั้งเดียว การตัดสินใจออกแอ็คชั่นต่าง ๆ จะมีความสำคัญและความจำเป็นอย่างมากต่อสถานการณ์การต่อสู้ ความน่าสนใจของด่านนี้คือ เราจะได้เห็น Schneider เป็นตัวละครที่เล่นได้ด้วย

 

  • บทที่ 19 Visionary Insight: ในบทสุดท้ายนี้ จะเป็นการวัดความคิด ความสามารถทั้งหมด โดยระบบจะบอกว่า ลำดับการปล่อยสกิล จะเป็นตัวตัดสินผลลัพธ์ ในบทนี้ก็ไม่มีอะไรมาก จัดการศัตรูลงทั้งหมดด้วยบทเรียนทั้ง 18 บทที่ผ่านมา เป็นอันเสร็จสิ้น และสามารถเล่นเกมนี้ได้อย่างเข้าใจมากยิ่งขึ้น

เมื่อจบบทฝึกสอนทั้งหมดแล้ว เราจะได้ Clear Drop รวมกันแล้ว 460 และได้แผ่นเสียง Grand Orchestra กับ Artifice of Sonetto ที่ใช้เลื่อนขั้นตัวละคร Sonetto ด้วย เป็นอันเสร็จสิ้นการปูพื้นของเกมนี้ทั้งหมด

Aisoon Srikum

Back to top