Motion Sickness เป็นอาการป่วยอย่างหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นระหว่างการนั่งรถ เรือ หรือเครื่องบิน ซึ่งจะเกิดอาการขึ้นเมื่อประสาทจากตาไม่สอดคล้องกับประสาทสัมผัสด้านอื่น ๆ ซึ่งการเล่นวิดีโอเกมด้วยมุมกล้อง First Person แล้วเวียนหัวจะอาเจียน ก็จัดเข้าข่ายเป็นอาการ Motion Sickness เช่นกัน
ถ้าหากใครยังไม่ทราบข้อมูลเบื้องต้นของอาการ Motion Sickness อ้างอิงของแพทย์หลายแห่ง รายงานว่าสาเหตุหลักเป็นเพราะน้ำจากหูชั้นในของตัวผู้เล่น สามารถสัมผัสว่าตัวผู้เล่นกำลังนั่งเล่นเกมและตาได้มองฉากการเคลื่อนไหวในเกม แต่ช่วงเวลาเดียวกัน สมองของเกมเมอร์อาจแยกประสาทไม่ทัน ทำให้สมองของผู้เล่นรับประสาทสัมผัสว่าคุณกำลังเคลื่อนไหว ทั้งที่ร่างกายกำลังนั่งเฉย ๆ ซึ่งเป็นบ่อเกิดทำให้สมองของเราทำงานสับสน จนเกิดอาการคลื่นไส้คล้ายอาการเมาเรือในที่สุด
ซึ่งแน่นอนว่าอาการป่วยเหล่านั้น สามารถเกิดขึ้นประจำกับเกมมุมกล้องเป็น First Person ที่เกมเมอร์จะเป็นตัวแทนในมุมมองของตัวเอกในเกม โดยในขณะที่ผู้เล่นนั่งเล่นเกมกับตามองหน้าจอโดยมือขยับเมาส์ คีย์บอร์ด หรือคอนโทรลเลอร์ แต่ในวิดีโอเกมเรากลับเคลื่อนไหวร่างกายเปรียบเหมือนในชีวิตจริง จึงไม่แปลกใจที่เกมเมอร์หลายคนเล่นเกม First Person แล้วมีอาการคลื่นไส้ตามมา โดยเกมยิ่งมีการเคลื่อนไหวเยอะเท่าไหร่ ก็ยิ่งเกิดอาการป่วยง่ายขึ้นเท่านั้น
แต่ไม่ใช่ว่าเกม First Person ทุกเกมจะมอบอาการ Motion Sickness โดยทันที เกมบางเกมก็สามารถเล่นได้ตามปกติโดยไม่เกิดอาการ แต่ก็มีเกมหลายเกมก็สามารถทำให้ผู้เล่นเกิดอาการป่วยได้ แม้จะผ่านประสบการณ์การเล่นเกม First Person มานานแค่ไหนก็ตาม ซึ่งทางเราแบ่งความเวียนหัวเป็น 3 ระดับ โดยแต่ล่ะระดับจะยกตัวอย่างจำนวน 3 เกม ซึ่งจะมีอะไรบ้าง เราไปติดตามชมได้เลยครับ
คอ FPS เล่นได้ เกมเมอร์ทั่วไปเล่นดี
Team Fortress 2 – อย่าเข้าใจผิด! Team Fortress 2 เป็นเกม Free2Play Multiplayer ยอดนิยม และสมรภูมิรบของเกมก็เต็มไปด้วยความวุ่นวาย แต่สิ่งที่ทำให้เกมนี้แทบไม่เกิดปัญหา Motion Sickness เป็นเพราะกราฟิกโดยรวมไม่ใช้สีแบบจัดจ้าน และตัวเกมนำเสนอเป็นภาพแบบการ์ตูน ซึ่งไม่ได้มีพื้นผิว Texture ที่รายละเอียดเยอะมากนัก
นอกจากนี้ การเคลื่อนไหวของร่างกายกับมุมกล้องของตัวละครแทบจะไม่มีส่าย หรือแม้แต่โดน Damage จากระเบิด ตัวกล้องก็ไม่มีการสั่นแม้แต่นิดเดียว ผู้เล่นหลายคนจึงไม่ค่อยประสบปัญหาจากอาการคลื่นไส้จากการเล่นเกมนี้ นอกเหนือใช้อุปกรณ์ VR HTC Vive หรือเป็นคนที่เกิดอาการป่วยง่ายมากเท่านั้น
Call of Duty – ถ้าหากไม่นับ CoD ภาคอนาคตที่ผู้เล่นสวมชุด Exo Suit แล้วสามารถ Double Jump หรือใช้ Dash ได้ เกม Call of Duty จัดว่าเป็นเกม FPS เกมหนึ่งที่จัดว่าค่อนข้างเป็นมิตรต่อเกมเมอร์ทั่วไป เพราะนอกจากระบบการเล่นจะเข้าใจง่ายแล้ว มุมกล้องของตัวละครก็ส่ายน้อยเช่นกัน รวมถึงต้องขอบคุณระบบการยิงปืนแบบ “ไร้แรงถีบ” ทำให้ภาพระหว่างการเล่นเกมมีการเคลื่อนไหวน้อยอีกด้วย
PUBG (PLAYERUNKNOWN’S BATTLEGROUNDS) เกมเมอร์หลายคนบ่นกันระนาวเรื่องการ Optimized ที่แย่เกินทน แต่หากคุณมีเครื่อง PC มีความทรงพลังมากพอจนสามารถเล่นเกมในเฟรมเรทระดับ 60 FPS จะพบว่าระหว่างการเล่นเกมแทบไม่เกิดอาการ Motion Sickness สำหรับมุมกล้อง First Person ซึ่งสาเหตุแน่นอนว่าเหมือนกับเกมอื่น ๆ ที่กล่าวมา คือภาพของเกมมีการเคลื่อนไหวน้อยมาก
คลื่นไส้นิด ๆ แต่ก็ยังพอไหวอยู่บ้าง
DooM (2016) – เกมนี้ควรต้องพบอาการ Motion Sickness อย่างรวดเร็ว เนื่องจากการออกแบบแพลตฟอร์มที่มีความซับซ้อนและมีระบบเกมเพลย์รวดเร็ว แต่ทว่าเกมนี้กลับรู้สึกเป็นมิตรต่อสายตาเกมเมอร์กว่าที่คาดไว้ เพราะแม้ตัวละครจะเคลื่อนไหวไว แต่มุมกล้องของตัวละครกลับมีอาการส่ายน้อยมาก และการออกแบบแผนที่ภายนอกจะเป็นสมรภูมิกว้างดูโล่งตา รวมถึงตัวเกมมีสไลด์ FoV ให้เลือกปรับอย่างอิสระ ผู้เล่นบางส่วนจนถึงส่วนใหญ่ จึงสามารถเล่นเกม DooM ได้อย่างสบาย ๆ หรือเกิดอาการช้ากว่าเกินคาดหมาย
Resident Evil 7 – ถึงแม้เกมภาคนี้มีกระแสตอบรับในแง่บวกจากเหล่าเกมเมอร์และเจ้าสำนักเกม หลังจาก Resident Evil 6 มีเสียงวิจารณ์ทั้งคนกับไม่ชอบ แต่ทว่าก็มีผู้เล่นอีกหลายคนที่ไม่ชื่นชอบมุมกล้อง FPS ที่ใช้เป็นครั้งแรกในเกม Resident Evil 7
แต่อย่างไรก็ตาม เกมเมอร์บางคนสามารถเล่นเกมนี้ได้โดยไม่พบอาการ Motion Sickness แต่อย่างใด เพราะการเคลื่อนไหวของตัวละครค่อนข้างช้าพอสมควร และพื้นของเกมส่วนใหญ่จะเป็นห้องแคบ ทำให้เกมเมอร์สามารถโฟกัสสิ่งที่อยู่ข้างหน้าได้เต็มที่ โดยไม่จำเป็นต้องหมุนซ้ายขวาบ่อย (นอกเหนือจากสำรวจของ หรือสลับหันหลังเพื่อยิงถ่วงเวลาศัตรู)
Red Orchestra / Rising Storm – ก็คงกล่าวถึงไม่ได้สำหรับเกม FPS สายฮาร์ดคอร์ ด้วยตัวเกมทำระบบการยิงปืนที่สมจริง และเกมเมอร์สามารถตายได้เพียงกระสุนเดียว ผู้เล่นจึงต้องส่ายปืนพร้อมสังเกตเพ่งเล็งหน้าจอตลอดเวลา ทำให้ผู้เล่นบางคนเคยประสบปัญหา Motion Sickness เป็นบางราย
ไม่ไหวแล้ววว
Mirror’s Edge จัดว่าเป็นเกมมุมกล้อง First Person ที่ผู้เล่นหลายคนรายงานเป็นเสียงเดียวกันว่าเกิดอาการ Motion Sickness ระหว่างการเล่นเพียงไม่ถึง 20-30 นาที เพราะว่าการเคลื่อนไหวร่างกายของตัวละครมีความไวเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ ตัวเกมนำเสนอให้ตัวเอกมีทักษะการวิ่ง Parkour ทำให้มุมกล้องของผู้เล่นมีการส่ายซ้าย-ขวาตลอดเวลา ตั้งแต่การกระโดดลงแบบหมุนตัว ท่าสตั๊นท์ผาดโผนเยอะ กับทักษะการต่อสู้แบบรวดเร็ว ซ้ำร้าย บรรยากาศของเกมส่วนใหญ่ยังโอบล้อมไปด้วยสีขาว ส่งผลกระทบทำให้ผู้เล่นรู้สึกตาล้าจากการเล่นเกมระยะยาวอีกด้วย
ถ้าหากผู้เล่นกำลังมองหาประสบการณ์ป่วยที่เลวร้ายยิ่งกว่าการนั่งเรือ เกมนี้คือคำตอบที่ดีที่สุดแล้ว
Dying Light เกมนี้จะคล้ายกับ Mirrior’s Edge เพราะตัวละครเอกมีทักษะการวิ่ง Parkour ซึ่งมีท่าสตั๊นท์ผาดโผน ผู้เล่นต้องใช้ความเร็วในการกระโดดข้ามตึกราวบ้านช่อง และมีแพลตฟอร์มมีรายละเอียดซับซ้อนเยอะ จึงทำให้เกิดอาการ Motion Sickness อย่างรวดเร็ว แต่อย่างน้อย เกมนี้ยังพอมีจังหวะให้พักสายตา ด้วยการพักที่ Safe House หรือยืนบนตึกสูง ๆ ที่เกมเมอร์สามารถมองเห็นท้องฟ้าอย่างเต็มตา ซึ่งสามารถช่วยลดอาการป่วยได้ไม่น้อยเลย
BulletStorm เป็นเกม FPS ม้ามืดจากค่าย People Can Fly ที่มีจุดเด่นเรื่องระบบยิงปืนแสนเดือดดาล และนำเสนอฉากแอ็กชันแบบ Non Stop แต่แน่นอนว่าความวินาศสันตะโรของเกม ย่อมส่งผลเสียต่อผู้เล่นบางคนตามมา เนื่องจากมุมกล้องของเกมส่ายเยอะจากการวิ่ง บวกกับระบบเกมเพลย์ที่เน้นโจมตีเร็ว กับต้องพบกับแรงสั่นสะเทือนจากระเบิดเกือบตลอดเวลา
แม้เกมนี้จะไม่มีลีลาผาดโผนเหมือนเกม Mirrior’s Edge กับ Dying Light แต่ด้วยระบบมุมกล้องของตัวละครที่สั่นและส่ายเยอะกว่าเกม FPS อื่น ๆ ทำให้มีเกมเมอร์ไม่น้อยที่พบอาการ Motion Sickness อย่างรวดเร็วระหว่างการเล่นเกมนี้
อย่างไรก็ตาม การเล่นฝืนเล่นเกม First Person ในขณะกำลังเกิดอาการ Motion Sickness เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะอาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้ และอาการป่วยหนักหรือเบาของแต่ล่ะคนจะไม่มีความแน่นอนว่า เกมที่กล่าวมาจะเกิดอาการ Motion Sickness มากหรือน้อย นอกจากต้องลองด้วยตัวเองเท่านั้น แต่มันก็วิธีต่าง ๆ สามารถช่วยลดอาการป่วยคลื่นไส้จากการเล่นเกมนานได้ แล้วจะมีวิธีอะไรบ้าง ก็สามารถอ่านบทความของเราได้ ที่นี่