มีที่ไทยบ้างไหม
“โรคติดเกม” ที่บัญญัติขึ้นโดยองค์การอนามัยโลก หรือ WHO เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาตามข่าว นี้ กำลังจะมีคลินิกพิเศษที่เปิดมาเพื่อรักษาโรคนี้โดยเฉพาะในอังกฤษ คลีนิกนี้จะเป็นคลินิกร่วมทุนระหว่างรัฐบาลของสหราชอาณาจักรและเอกชน มีเป้าหมายเพื่อบำบัดทั้งผู้ติดเกม ผู้ติดอินเตอร์เน็ตแบบครบวงจร โดยข้อมูลนี้ได้จากเว็บไซต์ theguardian สื่อเก่าแก่ของสหราชอาณาจักร
คลีนิกที่ว่าจะดำเนินงานโดย Central and North West London NHS Foundation Trust ในตอนนี้คลินิกจะบำบัดผู้ที่มีอาการติดเกมก่อนเป็นอันดับแรก และจะเริ่มขยายไปบำบัดผู้ติดอินเตอร์เน็ตด้วยในภายอนาคต จิตแพทย์ชื่อ Henrietta Bowden-Jones ผู้ก่อตั้งคลินิกกล่าวว่า “ในที่สุดอาการติดเกมมันก็กลายเป็นโรคอย่างที่มันควรจะเป็นเสียที”
“เรื่องนี้มันอาจจะลุกลามจนอันตรายมาก ๆ พวกเรารู้สึกว่าด้วยศีลธรรมของพวกเรา รวมถึงหน้าที่ในฐานะ NHS เราจะต้องช่วยเหลือเหล่าเด็ก ๆ วัยรุ่นให้หายจากอาการนี้ตามที่ครอบครัวของพวกเขาต้องการให้ได้”
เธอกล่าวว่าแม้โลกนี้ในสังคมจะไม่มีการแพร่ระบาดระหว่างกัน แต่คลีนิกก็จะทำหน้าที่เป็นผู้เปลี่ยนชีวิตสำหรับผู้ที่กำลังมีปัญหา ตอนนี้คลีนิกได้ระดมทุนเพื่อบำบัดผู้ติดเกมในทุก ๆ สัปดาห์ พร้อมทั้งทำการศึกษาและวิจัยไปด้วย โดยพวกเขาได้เงินทุนบางส่วนมาจาก NHS และการกุศล
คำจำกัดความของ WHO เกี่ยวกับโรคติดเกมที่เผยแพร่ในสัปดาห์ที่แล้วกล่าวไว้ว่า อาการติดเกมเป็นอาการที่จะเห็นเกมเป็นเรื่องสำคัญมากกว่ากิจกรรมอื่น ๆ ในชีวิต พวกเขาจะละเลยการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งมันส่งผลเสียมากกว่าผลดีหลายเท่า
การเคลื่อนไหวดังกล่าวก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้น มีการร่วมลงนามระหว่าง ESA, ESAC, EGDF, IESA, IGEA, ISFE, K-GAMES, และ UBV&G ตามข่าว นี้ เพื่อโต้แย้งถึงการกระทำของ WHO โดยพวกเขาแย้งว่ามันไม่มีอะไรที่เกี่ยวข้องกันเลยระหว่างเกมกับอาการเสพติด เนื่องจากปกติแล้วอาการเสพติดมักจะไม่ถูกจำแนกชัดเจนว่าเสพติดอะไร แต่ครั้งนี้กลับจำแนกออกมาชัดเจนว่าเสพติดเกม ซึ่งนี่น่าจะไม่เป็นผลดีในภาคอุตสาหกรรมเกม ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องออกมาต่อต้านเรื่องดังกล่าว
“เราหวังว่า WHO จะพิจารณาหลักฐานงานวิจัยทั้งหมดใหม่ก่อนตัดสินใจบรรจะโรคติดเกมลงไปใน ICD-11 ฉบับสมบูรณ์ที่จะมีการขึ้นทะเบียนในช่วงปีหน้า พวกเราเข้าใจว่าอุตสาหกรรมของพวกเราและผู้สนับสนุนของเราจะลุกขึ้นมาต่อต้านการขึ้นทะเบียนโรคจากเกมของ WHO อย่างต่อเนื่อง เราหวังว่า WHO จะหลีกเลี่ยงการการระบุข้อมูลที่ไม่เป็นธรรมซึ่งจะส่งผลต่อระบบสุขภาพของทั่วโลก”
ก็ต้องมาตามดูกันต่อไปว่าเหตุการณ์จะออกมาเป็นแบบไหน ส่วนตัวคิดว่าคงจะจบยากแล้วเพราะอีกฝ่ายก็ต้องการจะรักษาคน อีกฝ่ายก็ต้องการจะรักษาผลประโยชน์ในอุตสาหกรรมของตนเอง ใครจะเลือกเชียร์ฝ่ายไหนก็ตามสะดวกนะครับ ขอแค่อย่าไปดราม่าต่อยตีกันก็พอ