Day of Defeat ชื่อเกมดังกล่าวอาจไม่มีความหมายพิเศษสำหรับผู้เล่นยุคปัจจุบัน แต่สำหรับวงการเกม Multiplayer แล้ว เกมดังกล่าวนับว่าเป็นหนึ่งในเกม FPS ที่อยู่ในความทรงจำหลายคน เพราะนอกจากเป็นเกมยิงในธีมสงครามโลกครั้งที่สองคลาสสิกแล้ว มันเป็นหนึ่งในม็อดของ Half-Life ที่ Valve นำไปพัฒนาต่อจนกลายเป็นเกม Multuplayer ที่ประสบความสำเร็จอีกด้วย แล้ว DoD คืออะไร บทความนี้จะมาเล่าสู่กันฟังครับ
Day of Defeat จากม็อด Half-Life สู่เกม FPS Multiplayer สงครามโลกครั้งที่สอง
Day of Defeat เป็นเกมแนว Team-Based FPS Multiplayer รูปแบบสงครามโลกครั้งที่สอง ที่พัฒนามาจากม็อดของเกม Half-Life โดยทีมพัฒนาเกมบุคคลที่สาม (ไม่มีการระบุชื่อทีมงานหรือชื่อนักพัฒนาเกม)
ตอนแรกเกมดังกล่าวมีแผนปล่อยให้เล่นฟรีในปี 2000 แต่ทีมงาน Valve ได้สนใจโปรเจกต์เกมดังกล่าว Valve จึงตกลงเจรจาขอซื้อ IP เกม Day of Defeat และทีมพัฒนาเกมบุคคลที่สามเพื่อนำตัวเกมไปพัฒนาต่อพร้อมวางจำหน่ายในชื่อตัวแทนเป็น Valve ซึ่งทางทีมพัฒนาม็อดก็รับข้อเสนอของ Valve ทำให้เกม Day of Defeat เลื่อนการปล่อยเกมจากปี 2000 กลายเป็นเกมสำหรับวางจำหน่ายปี 2003 ในรูปแบบ Standalone
โดย Day of Defeat เข้าถึงง่ายในที่นี้ หมายถึงความสะดวกในการเข้าเกม และโครงสร้างเกมเพลย์ที่ไม่มีความซับซ้อน เนื่องจากตัวเกมพัฒนาด้วยเอนจิน GoldSrc ซึ่งเป็นเอนจินเดียวกับ Half-Life รวมถึงหน้าเมนู UI ก็คล้ายคลึงเกมต้นฉบับอีกด้วย จึงทำให้ทั้งผู้เล่นทุกคนสามารถเข้าเกมได้อย่างง่ายดาย
ส่วนโหมดเกมของ Day of Defeat ส่วนใหญ่ก็เป็นโหมดสามัญประจำบ้านที่เกมแนวทีมเวิร์คเกือบทุกเกมจะต้องมี เช่น Conquest Mode (Capture the Flag) กับ Destroy target (วางระเบิดตามจุดที่ตั้งไว้) โดยฝ่ายไหนทำเป้าหมายได้สำเร็จ ฝ่ายนั้นก็เป็นผู้ชนะแล้วเริ่มเกมใหม่อีกรอบ รวมถึงเจ้าของเซิร์ฟเวอร์สามารถตั้งค่าระบบความยาก เช่น เปิด/ปิด Friendly Fire หรือ HUD ซึ่งแม้ว่าโหมดเกมดังกล่าวสามารถพบเห็นได้ในเกม Multiplayer ทั่วไป แต่ก็ถือว่าเป็นโหมดเบสิกที่ไม่มีใครรังเกียจและยินดีต้อนรับเสมอจากเหล่าเกมเมอร์เสมอ
แม้ว่าแต่ละคลาสจะถืออาวุธและหน้าที่แตกต่างกัน แต่ทุกคนล้วนคือทหารคนหนึ่งที่ต้องเอาตัวรอดบนสนามรบ คือทุกคนมีหลอดเลือดกับหลอด Stamina เท่ากัน โดนยิงตายใน 1-5 นัดเท่ากัน ไม่มีใครเก่งกว่าหรืออ่อนแอกว่า ทุกคนเท่าเทียมกันหมด รวมถึงการควบคุมปืนก็มีความคล้ายคลึง Counter Strike ที่มีแพทเทิร์นตายตัว และไม่มี Aim Down Sight (แต่แรงถีบเยอะกว่าปืนเกม CS) ทำให้เกม Day of Defeat มีความเป็น Competitive รวมถึงเล่นง่ายแต่เล่นเก่งยาก
แต่อย่างไรก็ตาม ความนิยมของเกม Day of Defeat มิอาจสู้เทียบเท่ากับซีรีส์เกม Counter-Strike ซึ่งเป็นเกม FPS ระดับตำนานที่ได้รับความนิยมมานานกว่าสองทศวรรษ จึงเป็นสาเหตุให้ Day of Defeat กลายเป็นเกมที่อยู่ใต้เรดาห์ของ Valve มาโดยตลอดจนถึงตอนนี้ และเกมไม่ได้รับการพัฒนาภาคต่อนับตั้งแต่ปี 2005

Day of Defeat: Source
ปัจจุบัน เกม Day of Defeat กับ Day of Defeat: Source ยังคงมีผู้เล่นประจำในโซนสหรัฐฯ และยุโรปบางประเทศ แต่ก็เป็นเรื่องน่าเศร้าที่เกมดังกล่าวไม่ได้รับความนิยมในโซนเอเชียและทั่วโลก เนื่องจากอิทธิพลของเกมซีรีส์ Counter-Strike ซึ่งก็หวังว่าเกมซีรีส์ DoD จะกลับมาพัฒนาภาคต่อ มันอาจไม่ใช่เกมที่สร้างนวัตกรรมจนปฏิบัติวงการเกม แต่ด้วยความสนุกหรรษา เล่นง่าย พร้อมกับเป็นเกมในความทรงจำวัยเด็ก จึงไม่ปฏิเสธได้จริง ๆ ว่าอยากเห็นเกมดังกล่าวฟื้นกลับมาอีกครั้ง แม้โอกาสจะน้อยนิดก็ตาม