BY KKMTC
13 Feb 20 6:49 pm

Day of Defeat จากม็อด Half-Life สู่เกม FPS Multiplayer สงครามโลกครั้งที่สองโดยค่าย VALVE

12 Views

Day of Defeat ชื่อเกมดังกล่าวอาจไม่มีความหมายพิเศษสำหรับผู้เล่นยุคปัจจุบัน แต่สำหรับวงการเกม Multiplayer แล้ว เกมดังกล่าวนับว่าเป็นหนึ่งในเกม FPS ที่อยู่ในความทรงจำหลายคน เพราะนอกจากเป็นเกมยิงในธีมสงครามโลกครั้งที่สองคลาสสิกแล้ว มันเป็นหนึ่งในม็อดของ Half-Life ที่ Valve นำไปพัฒนาต่อจนกลายเป็นเกม Multuplayer ที่ประสบความสำเร็จอีกด้วย แล้ว DoD คืออะไร บทความนี้จะมาเล่าสู่กันฟังครับ

Day of Defeat จากม็อด Half-Life สู่เกม FPS Multiplayer สงครามโลกครั้งที่สอง

Day of Defeatหลังจากการออกฉายภาพยนตร์ Saving Private Ryan ในปี 1998 ซึ่งเป็นหนึ่งในผลงานหนังชิ้นโบว์แดงของ Steven Spielberg ที่สามารถนำเสนอความโหดร้ายกับบรรยากาศสงครามโลกครั้งที่สองในฝั่งยุโรปได้อย่างสมจริง ทำให้วงการเกมเริ่มมีกระแสสร้างเกม FPS ในธีมสงครามตามประวัติศาสตร์ร่วมใหม่ ไม่ว่าจะเป็น Medal of Honor, Call of Duty, Battlefield และหนึ่งในนั้นก็คือเกม Day of Defeat

Day of Defeat เป็นเกมแนว Team-Based FPS Multiplayer รูปแบบสงครามโลกครั้งที่สอง ที่พัฒนามาจากม็อดของเกม Half-Life โดยทีมพัฒนาเกมบุคคลที่สาม (ไม่มีการระบุชื่อทีมงานหรือชื่อนักพัฒนาเกม)

ตอนแรกเกมดังกล่าวมีแผนปล่อยให้เล่นฟรีในปี 2000 แต่ทีมงาน Valve ได้สนใจโปรเจกต์เกมดังกล่าว Valve จึงตกลงเจรจาขอซื้อ IP เกม Day of Defeat และทีมพัฒนาเกมบุคคลที่สามเพื่อนำตัวเกมไปพัฒนาต่อพร้อมวางจำหน่ายในชื่อตัวแทนเป็น Valve ซึ่งทางทีมพัฒนาม็อดก็รับข้อเสนอของ Valve ทำให้เกม Day of Defeat เลื่อนการปล่อยเกมจากปี 2000 กลายเป็นเกมสำหรับวางจำหน่ายปี 2003 ในรูปแบบ Standalone

Day of Defeatหลังการวางจำหน่าย Day of Defeat เกมดังกล่าวมีกระแสตอบรับที่ดี ด้วยเกมการเล่นเข้าถึงง่าย ระบบคลาสมีบทบาทชัดเจน และระบบเกมเพลย์กึ่งบังคับให้ต้องร่วมมือกัน

โดย Day of Defeat เข้าถึงง่ายในที่นี้ หมายถึงความสะดวกในการเข้าเกม และโครงสร้างเกมเพลย์ที่ไม่มีความซับซ้อน เนื่องจากตัวเกมพัฒนาด้วยเอนจิน GoldSrc ซึ่งเป็นเอนจินเดียวกับ Half-Life รวมถึงหน้าเมนู UI ก็คล้ายคลึงเกมต้นฉบับอีกด้วย จึงทำให้ทั้งผู้เล่นทุกคนสามารถเข้าเกมได้อย่างง่ายดาย

ส่วนโหมดเกมของ Day of Defeat ส่วนใหญ่ก็เป็นโหมดสามัญประจำบ้านที่เกมแนวทีมเวิร์คเกือบทุกเกมจะต้องมี เช่น Conquest Mode (Capture the Flag) กับ Destroy target (วางระเบิดตามจุดที่ตั้งไว้) โดยฝ่ายไหนทำเป้าหมายได้สำเร็จ ฝ่ายนั้นก็เป็นผู้ชนะแล้วเริ่มเกมใหม่อีกรอบ รวมถึงเจ้าของเซิร์ฟเวอร์สามารถตั้งค่าระบบความยาก เช่น เปิด/ปิด Friendly Fire หรือ HUD ซึ่งแม้ว่าโหมดเกมดังกล่าวสามารถพบเห็นได้ในเกม Multiplayer ทั่วไป แต่ก็ถือว่าเป็นโหมดเบสิกที่ไม่มีใครรังเกียจและยินดีต้อนรับเสมอจากเหล่าเกมเมอร์เสมอ

Day of Defeatระบบทีมของ Day of Defeat จะแบ่งเป็นสองฝั่งคือสัมพันธมิตร VS. ฝ่ายอักษะ และแบ่งคลาสที่มีการระบุหน้าที่ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่นหน่วยไรเฟิล, หน่วยจู่โจม, หน่วยสนับสนุน, หน่วยสไนเปอร์, หน่วยปืนกลหนัก กับหน่วยระเบิด

แม้ว่าแต่ละคลาสจะถืออาวุธและหน้าที่แตกต่างกัน แต่ทุกคนล้วนคือทหารคนหนึ่งที่ต้องเอาตัวรอดบนสนามรบ คือทุกคนมีหลอดเลือดกับหลอด Stamina เท่ากัน โดนยิงตายใน 1-5 นัดเท่ากัน ไม่มีใครเก่งกว่าหรืออ่อนแอกว่า ทุกคนเท่าเทียมกันหมด รวมถึงการควบคุมปืนก็มีความคล้ายคลึง Counter Strike ที่มีแพทเทิร์นตายตัว และไม่มี Aim Down Sight (แต่แรงถีบเยอะกว่าปืนเกม CS) ทำให้เกม Day of Defeat มีความเป็น Competitive รวมถึงเล่นง่ายแต่เล่นเก่งยาก

Day of Defeatโดยรวมแล้ว Day of Defeat ก็เหมือน Team Fortress 2 มาผสม Counter-Stike เพราะเกมดังกล่าวต้องใช้ทีมเวิร์คในการเอาชนะเหมือน Team Fortress 2 แต่ระบบการเล่นต้องอาศัยการฝึกฝนแม้เกมจะเล่นง่ายคล้ายกับ Counter-Strike จึงไม่แปลกใจเท่าไหร่นักที่เกมจะได้รับเสียงชื่นชมมากมาย และเกมประสบความสำเร็จมากพอจนต้องทำเกมภาคต่อโดยใช้ชื่อ Day of Defeat: Source

แต่อย่างไรก็ตาม ความนิยมของเกม Day of Defeat มิอาจสู้เทียบเท่ากับซีรีส์เกม Counter-Strike ซึ่งเป็นเกม FPS ระดับตำนานที่ได้รับความนิยมมานานกว่าสองทศวรรษ จึงเป็นสาเหตุให้ Day of Defeat กลายเป็นเกมที่อยู่ใต้เรดาห์ของ Valve มาโดยตลอดจนถึงตอนนี้ และเกมไม่ได้รับการพัฒนาภาคต่อนับตั้งแต่ปี 2005

Day of Defeat: Source

Day of Defeat: Source

ปัจจุบัน เกม Day of Defeat กับ Day of Defeat: Source ยังคงมีผู้เล่นประจำในโซนสหรัฐฯ และยุโรปบางประเทศ แต่ก็เป็นเรื่องน่าเศร้าที่เกมดังกล่าวไม่ได้รับความนิยมในโซนเอเชียและทั่วโลก เนื่องจากอิทธิพลของเกมซีรีส์ Counter-Strike ซึ่งก็หวังว่าเกมซีรีส์ DoD จะกลับมาพัฒนาภาคต่อ มันอาจไม่ใช่เกมที่สร้างนวัตกรรมจนปฏิบัติวงการเกม แต่ด้วยความสนุกหรรษา เล่นง่าย พร้อมกับเป็นเกมในความทรงจำวัยเด็ก จึงไม่ปฏิเสธได้จริง ๆ ว่าอยากเห็นเกมดังกล่าวฟื้นกลับมาอีกครั้ง แม้โอกาสจะน้อยนิดก็ตาม

Achina Limanwat

เค - Content Writer

Related posts

Read More
Back to top