กลับมาเป็นประเด็นอีกครั้งกับการพิจารณาเกี่ยวกับวิดีโอเกมในประเด็นของโรคภัยที่เคยมีประเด็นกันไปแล้วมากมายหลายอย่าง และล่าสุดนี้ทางองค์กรอนามัยโลกหรือ WHO ก็เตรียมที่จะพิจารณาในประเด็นนี้เป็นครั้งสุดท้ายเกี่ยวกับอาการและเรื่องดังกล่าวภายในสุกสัปดาห์นี้
รายงานจากเว็บไซต์ PCGamer ระบุว่า องค์กรอนามัยโลกหรือ WHO ได้เตรียมที่จะพิจารณาในขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการตัดสินว่า อาการติดเกมหรือ Gaming Disorder นั้นสามารถถูกระบุให้เป็นโรคอย่างหนึ่งได้หรือไม่ หลังจากที่เคยประกาศออกมาอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคมปี 2017 และแยกประเภทเป็นแบบออนไลน์และออฟไลน์ในปี 2018 และจะหารือเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันในตอนท้าย
โดยการแยกประเภทการป่วยของอาการติดเกมนั้นในแบบออนไลน์ก็คือการที่ผู้ป่วยติดเกมหรือสื่อต่าง ๆ ที่มาจากทางอินเตอร์เนตเป็นหลัก ในขณะที่แบบออฟไลน์นั้นจะไม่มีอาการนี้มาเกี่ยวข้อง แต่ทั้งสองอาการนั้นจะมีจุดร่วมคือ “มีอาการติดเกมหรือพึงพอใจที่จะเล่นติดต่อกันเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง” จนทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้
- มีการควบคุมพฤติกรรมในการเล่นเกมที่บกพร่อง(พิจารณาจากการเริ่มเล่น ระยะเวลา ความถี่ บริบทและอื่น ๆ ประกอบกัน)
- มีแนวโน้มที่จะให้การเล่นเกมมีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตเหนือกว่าสิ่งอื่น ๆ จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
- มีการเล่นเกมที่ยาวนานมากขึ้นจนส่งผลต่อสุขภาพและเกิดผลกระทบในด้านลบ เช่นทางด้านบุคลิกภาพ การใช้ชีวิตในสังคม การเรียน การงาน และอื่น ๆ
โดยการประกาศเกี่ยวกับอาการติดเกมของ WHO นั้นส่งผลกระทบในทางลบต่ออุคสาหกรรมเกมในช่วงแรกอย่างมาก จนทำให้หลายบริษัทรวมตัวกันต่อต้าน เช่น ESA และ IGDA ที่ให้เหตุผลว่า การรักชอบในการเล่นเกมนั้นไม่ควรถูกกำหนดให้เป็นโรคภัย และมันเป็นงานอดิเรกที่ควรเป็นทางเลือกมากกว่าที่จะถูกกำหนดให้เป็นสิ่งเลวร้าย
สำหรับผลการพิจารณาจะเป็นอย่างไรนั้น ก็ต้องมาติดตามกันอย่างใกล้ชิดต่อไปครับ